590
Startups
ฉนวนฟางทนไฟ Ganfai ที่ใช้ฟางข้าวแทนใยแก้วใยหินโดยใช้เยื่อกระดาษเป็นวัสดุประสานแทนกาว สามาถซับเสียงภายในห้องได้ 75% สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ 10-20 องศาเซลเซียส ทิ้งลงดินได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถ Recycle ได้ ไม่ลามไฟ และ ไม่เป็นอาหารของปลวก เป็นวัสดุใหม่ของโลกได้รับใบรับรองจากห้องสมุดวัสดุ Material Connexion
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญไตรภพ
ชีวิตง่ายขึ้นอีก 1 สเตป "Kappy" แคบหมูแบบง่าย ๆ เพียงแค่แกะซองพลาสติก โยนใส่ไมโครเวฟ ตุ๊บ ๆ ตั๊บ ๆ ออกมาเป็นแคบหมูอย่างที่เห็น ที่สำคัญ อร่อย และได้เยอะ - การเวฟ Kappy ให้อร่อยกรอบพอดีคำ สำคัญที่สุดคือ "อุณหภูมิความร้อน" เพราะว่าเครื่องไมโครเวฟแต่ละเครื่องแต่ละยี่ห้อนั้น ให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้ว เราจะเวฟ Kappy ที่ความร้อน 800W ด้วยระยะเวลา 2 นาที แต่ถ้าเครื่องไมโครเวฟของคุณค่อนข้างเก่า หรือมีกำลังไฟที่สูงเกินปกติอยู่แล้ว ให้ลดความร้อนลงประมาณ 700W รวมไปถึงระยะเวลาในการเวฟ ที่อาจจะอยู่ในช่วงระยะเวลา ประมาณ 1.30-2.00 นาที อีกอย่างที่สำคัญ ต้องไม่ลืมเขย่าซอง Kappy ทุกครั้งก่อนนำไปเวฟ เขย่าแรงๆ แค่นี้เอง ง่าย ๆ คุณก็จะสามารถรับประทานแคบป๊อบแสนอร่อยกรอบกำลังดีโดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะไหม้เกรียมอีกต่อไป
บริษัท เชียงใหม่วนัสนันท์ จำกัด
ประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องพลังงานเฉลี่ยการชาร์จ1ครั้ง 2.320 บาทต่อการชาร์จแบตเตอรี่ 1 รอบสามารถเดินทางได้ระยะทาง 40-50 กิโลเมตร ( 0.05บาท/ กม.) - กุญแจและรีโมทคอนโทรลแบบสมาร์ท ล๊อคและปลดล๊อคด้วยรีโมทได้โดยไม่ต้องเสียบกุญแจ มีฟังก์ชั่นหารถ เปิด/ปิดรถและกัน ขโมย - ปลอดภัยด้วยระบบดรัมเบรคหน้า-หลัง ที่สามารถหยุดรถได้รวดเร็วทันที - ขับขี่ได้แม้เวลาฝนตก และสามารถขับลุยน้ำได้สูงสุด 20 cm
บริษัท ไลฟส์ มูฟวิ่ง จำกัด
ขยะขวดน้ำพลาสติกเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆของโลก การนำมารีไซเคิลเพื่อเป็นสินค้าใหม่ จึงเป็นเทรนด์รักษ์โลกที่ทั่วโลกให้ความสนใจ และเป็นการทดแทนการผลิตวัสดุใหม่ขึ้นมาซึ่งสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า จะดีแค่ไหน ถ้าเราสามารถลดขยะขวดน้ำพลาสติก ปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆของโลก ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบมาเป็น product เก๋ๆ โดยแต่ละดีไซน์ inspired มาจากธรรมชาติสวยๆที่เราอยากเก็บรักษาไว้นานๆ แบรนด์กระเป๋า ARTWORK ออกแบบจากเฟ้ลที่รีไซเคิลมาจากขยะขวดน้ำพลาสติกที่กว่าจะย่อยสลายได้ต้องใช้เวลามากกว่า 450 ปี ซึ่งเฟ้ลตัวนี้ยังสามารถเอาไปรีไซเคิลใหม่ได้ recyclable product เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยโลกได้ และเพื่อสร้าง awareness ให้คนตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้ทำป้ายบอกด้วยว่า สินค้าตัวนี้ทำจากขยะขวดพลาสติก มาลดละเลิกกันเถอะ ซึ่งแน่นอนว่า วัสดุที่เลือกมาใช้ในการออกแบบนอกจาก recycle felt แล้วยังมี microfiber leather ที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังทนทานเหมือนหนังสัตว์จริง ถือว่าเป็นวัสดุ eco-friendly และ sustainable
บริษัท กรีนดอทบลู จำกัด
ตอบโจทย์ความสะดวกสบายและความปลอดภัย ช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดถูกควบคุมการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตได้ โดยเป็นปลั๊กอัจฉริยะรายแรกที่ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของไทย สามารถควบคุมการสั่งงานผ่าน Anitech IoT Application รองรับทั้งระบบ iOS และ Android โดยจุดเด่นของปลั๊ก Anitech IoT รุ่น H1000 คือการออกแบบมาให้ปุ่มเปิด-ปิดเป็นแบบ Touch Screen พร้อมด้วยฟังก์ชันการใช้งาน 4 รูปแบบ ทั้งการตั้งค่าการเปิด-ปิด, การเปิด-ปิด ล่วงหน้าโดยระบุวันและเวลา, การตั้งเวลาเปิด-ปิด และการแสดงค่าการใช้กำลังไฟฟ้าแบบ Real-Time พร้อมดูสถิติการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าย้อนหลังสูงสุดได้ถึง 3 เดือน ทุกฟังก์ชันการใช้งานสามารถทำได้ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน Anitech IoT Application บนสมาร์ทโฟนทั้งระบบ iOS และ Android นอกจากนี้ แอปพลิเคชันยังถูกออกแบบ User Interface ทั้งหมดโดยคนไทย ภายในระบบ Cloud ที่มี Server อยู่ในประเทศไทย ช่วยป้องกันการแฮกเข้าระบบ รวมไปถึงง่ายต่อการแก้ไขและประสานงานผู้บริโภคปัจจุบันจะใช้งาน IoT บน 2 ปัจจัย โดย 75% ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความสะดวกสบายที่ได้รับจากการใช้งาน 68% จะให้ความสำคัญเรื่องความคุ้มค่า ชี้ให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด ที่มาพร้อมความปลอดภัย และขาดไม่ได้ในเรื่องของความสะดวกสบาย"
บริษัท สมาร์ท ไอดี กรุ๊ป จำกัด
ผู้สูงอายุในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีฟันคงเหลือในช่องปากมากกว่าสมัยก่อนที่ระบบสาธารณสุขยังไม่ดีนัก การดูแลสุขภาพฟันของผู้สูงอายุให้ใช้งานได้ยาวนานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปากเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคนิยมใช้เพื่อช่วยเพิ่มความสดชื่นและความสะอาดภายในช่องปากนอกเหนือจากการแปรงฟัน และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการนำสารสำคัญ เช่น ฟลูออไรด์ สำหรับช่องปากผู้สูงอายุอีกด้วยอย่างไรก็ตาม น้ำยาบ้วนปากที่จำหน่ายในท้องตลาดมักมีส่วนผสมของสารเคมีที่อาจทำให้เยื่อบุภายในช่องปากระคายเคือง แสบช่องปาก รวมถึงอาจทำผิวฟันกร่อน เคลือบฟันบางลงจนเกิดอาการเสียวฟันตามมาได้ จึงไม่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มักมีลักษณะทางกายภาพในช่องปากค่อนข้างเปราะบาง น้ำยาบ้วนปากที่พัฒนาขึ้นนี้ ใช้สารให้ความหวานจากหญ้าหวานซึ่งเป็นสารที่มาจากธรรมชาติที่ให้รสชาติที่ดี มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ผลการวิจัยรายงานว่าช่วยลดการเกิดฟันผุได้เมื่อใช้เป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ผลิตภัณฑ์มีสี, กลิ่น และรสชาติที่อ่อนโยน ปราศจากแอลกอฮอล์หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง จึงแหมาะสำหรับนำไปใช้ในทางทันตกรรมผู้สูงอายุ
สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นวัตกรรมเพื่อสุขภาพดีและปลอดภัย ตอบโจทย์คุณแม่ที่ใส่ใจความปลอดภัยต่อลูกน้อย น้ำยาทาเล็บสำหรับเด็กที่สามารถใช้เล็บสะกิดให้หลุดลอกออกได้ โดยไม่ต้องล้างด้วยสารทำละลายที่อยู่ในน้ำยาทาเล็บ เนื่องจากมีการใช้น้ำยางพาราเป็นส่วนผสมร่วมกับอะคริลิกอีมัลชันฐานน้ำ ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าการใช้เรซินสังเคราะห์ เมื่อสีทาเล็บนี้เมื่อแห้งแล้วจะเป็นฟิล์มบาง ๆ เกาะบนผิวเล็บมีความยืดหยุ่นสูง เมื่อต้องการลอกสีทาเล็บเดิมออกกทำได้ง่ายโดยการสะกิดให้สีเผยอออกแล้วลอกสีออกเป็นแผ่น จึงปลอดภัยสำหรับเด็กน้อย
บริษัท บิลเลี่ยน คิดส์ จำกัด
จากผลงานการประดิษฐ์ ผ่านการวิจัย การทดสอบ มาตรฐานนานาชาติ สิ่งประดิษฐ์เจ้าของรางวัล 6 เหรียญ ทองอัจฉริยะโลก มาเป็นสินค้าให้ผู้ใช้งานอุปโภคบริโภค ที่มีไว้สําหรับป้องกันและระงับอัคคีภัยให้เป็นศูนย์ “Zero Accident” เพียงแค่ติดตั้ง ELIDE FIRE extinguishing ball เฝ้าดักดับเพลิงอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง เคล็ดลับการปกป้องอัคคีภัย ให้โรงงาน คลังสินค้า โรงแรม คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า สํานักงาน หรือ อาคารสูง โดยติดตั้ง ELIDE FIRE extinguishing ball เฝ้าดักดับเพลิงอัตโนมัติไว้ในอาคารในจุดเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ “สินค้าใช้เปลวเพลิงกระตุ้นให้ดับเพลิงอัตโนมัติ” ไม่ต้องบํารุงรักษาหรือเสียค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้ 5 ปี
บริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด
นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหากลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ เพราะ ZzzSPINS มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ สารสกัดกาบา ที่สกัดจากจากจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส K3 และ L-Glutamin จากรายงานวิจัยทางแพทย์ของญี่ปุ่นที่มีการทดสอบในมนุษย์พบว่าช่วยปรับคลื่นสมองให้การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น (นอนหลับลึก) เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดความเครียด ลดความวิตกกังวล รวมถึงการลดความเสี่ยงของสภาวะการเกิดโรคสมองเสื่อม
บริษัท นาวิสพลัส จำกัด
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดการเป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลเปิดของ อว. ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว ตลอดเวลา โดยข้อมูลที่เผยแพร่อยู่ในรูปแบบไฟล์ที่สามารถแสดงตัวอย่างข้อมูล (Preview) การแสดงข้อมูลด้วยภาพ (Visualization) และเอพีไอ (API) แบบอัตโนมัติให้กับชุดข้อมูลที่เผยแพร่ได้
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว)
AGTECH4OTOP โครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) โดยศูนย์สร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (Agro Business Creative Center: ABC Center) ได้ริเริ่ม “โครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ AgTech4OTOP ” เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการทำตลาดสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่น ในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพออกสู่ตลาด บนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพ ที่มีการพัฒนารูปแบบในการเชื่อมโยง ระหว่างผู้ผลิตสินค้าการเกษตรไปสู่ผู้บริโภคให้สามารถขยายผลและกระจายได้ในวงกว้างขึ้นทั้งในและต่างประเทศ วัตถุประสงค์ 1.เพื่อสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 2.เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาระบบตลาดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้สำหรับการ OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น 3.เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างระบบตลาดนวัตกรรมสำหรับสินค้า OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น กลุ่มเป้าหมาย สตาร์ทอัพการเกษตร (AgTech Startup) หรือ สตาร์ทอัพด้านอื่นๆด้านระบบตลาดเกษตรรูปแบบใหม่ และรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ที่ผลิตสินค้าเกษตร ได้แก่ 1) ข้าว 2) ผักและผลไม้ 3) เครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
เป็นหน่วยงานภายใต้การดำเนินงานของ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจหลักคือการพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้สามารถ ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างนักรบทางธุรกิจ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างเข้มแข็งในยุค New Normal ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ นั่นคือ มนุษย์ ดังนั้นความอยู่รอดในปัจจุบัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะขนาดของธุรกิจ และทรัพยากรที่มี แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่า NEA จึงเชื่อว่าการจะพัฒนาให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง และเติบโตในช่วงเวลาที่มีปัญหารอบด้านเช่นนี้ เราต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย และความมุ่งมั่นทุ่มเทที่จะ ร่วมมือกันของผู้ประกอบการและภาครัฐ ดังนั้น NEA จึงจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพที่ครอบคลุมทั้งระบบการเรียนการสอนในแบบห้องเรียนทั่วไป หรือ ออฟไลน์ จนถึงระบบการเรียนการสอนผ่านระบบดิจิทัล ที่เรียกว่า E-Learning เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ และทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ข้อมูลภาพรวมการค้าระหว่างประเทศ ข้อมูลการส่งออก นำเข้า ดุลการค้าและมูลค่าการค้า จำแนกตามประเทศ โดยกำหนดปี เดือน แสดงผลมูลค่าหน่วยเป็นเงินบาทและเหรียญสหรัฐ ข้อมูลการค้า จำแนกตามประเทศ/กลุ่มประเทศ ข้อมูลการส่งออก นำเข้า ดุลการค้าและมูลค่าการค้า จำแนกตามประเทศ/กลุ่มประเทศ โดยกำหนดปี เดือน แสดงผลมูลค่าหน่วยเป็นเงินบาทและเหรียญสหรัฐ
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ทุนนวัตกรรมเพื่อสังคม เป็นกลไกให้ทุนสนับสนุนโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมแบบให้เปล่า (Grant) ในการพัฒนาต้นแบบหรือนำร่องนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมไทยในมิติต่างๆ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความเท่าเทียมกันในสังคม และสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 โครงการหลักๆ ดังนี้ 1. โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมรายสาขา (Sectoral Social Innovation Project) โครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมที่เปิดรับข้อเสนอโครงการจากทั่วทั้งประเทศ สนับสนุนความหลากหลายของแนวคิดนวัตกรรม สู่การพัฒนาต้นแบบหรือนำร่องนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมไทยทั้ง 9 มิติ ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านความเชื่อมโยงระหว่าง อาหาร น้ำ และพลังงาน ด้านการศึกษา ด้านการเงิน การจ้างงาน และสวัสดิการสังคม ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ด้านภาครัฐและความเป็นเมือง ด้านสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ด้านการจัดการภัยพิบัติ วงเงินสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อโครงการ 2. โครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชน (City and Community Innovation Challenge) สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมสำหรับพัฒนาเมืองและชุมชน (Innovation for urbanization) โดยเกิดการบูรณาการ่วมกับพื้นที่ ทั้งหน่วยงานด้านการปกครอง องค์กรเอกชน องค์กรภาคสังคม และภาคประชาชน ผลักดันไปสู่การใช้งานจริงเพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นที่ท้าทายของชุมชนและเมือง วงเงินสนับสนุนสูงสุด 1.5 ล้านบาทต่อโครงการ 3. โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Village) สนับสนุนการนำผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคมไปขยายผลสู่พื้นที่เป้าหมาย และก่อให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่สามารถแก้ไขปัญหา ส่งเสริม และสนับสนุน ยกระดับคุณภาพชีวิตในพื้นที่เป้าหมาย และเป็นต้นแบบการขยายผลผลงานนวัตกรรมเพื่อสังคม ที่ช่วยแก้ปัญหาความยากจนหรือปัญหาตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ วงเงินสนับสนุนสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาทต่อโครงการ 4. หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit : SID) เป็นการบ่มเพาะเพื่อยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมหรือผู้ที่สนใจ จนสามารถพัฒนาแนวคิดสู่ต้นแบบหรือโครงการนำร่องได้ ผ่านกิจกรรมเครือข่ายมหาวิทยาลัย การให้ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญและการบ่มเพาะ โดยหวังว่าจะเกิดนวัตกรเพื่อสังคม และกิจการเพื่อสังคมที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง และแก้ไขปัญหาสังคมในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://social.nia.or.th/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อีเมล: social@nia.or.th ติดตามการรับสมัครทุกโครงการของนวัตกรรมเพื่อสังคมได้ที่ ข่าวประกาศ
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
หลักสูตรการพัฒนาและบริหารโครงการนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า (Thematic Innovation) นวัตกรรมมุ่งเป้า (Thematic Innovation) คือ การพัฒนาโครงการที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรม นำไปสู่การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ผ่านการแสวงหาโจทย์ปัญหาที่แท้จริงร่วมกันของภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ เพื่อดำเนินโครงการนวัตกรรมต้นแบบสำหรับแก้ปัญหาและยกระดับการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ประเทศฐานนวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
นำเสนอองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่เห็นโอกาสและการเตรียมพร้อมในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
โลกในอนาคตที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้จังหวะการก้าวไปข้างหน้าต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ ตั้งแต่เทคโนโลยีที่เข้ามา Disrupt ธุรกิจและการดำเนินชีวิตแบบเก่า สภาพอากาศที่แปรปรวนหนักขึ้น ไปจนถึงการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ล้วนส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน การบริโภค ตลอดไปจนถึงทำธุรกิจนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปในยุค New Normal ที่ทำให้เราทุกคนต้องปรับตัว แนวทางหนึ่งในการรับมือที่ภาครัฐและเอกชนต่างเห็นตรงกัน คือ การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ทั้งการเพิ่มพูนความรู้ในด้านวิทยาการ การทำความเข้าใจกับความเป็นไปที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และการเติมทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพและธุรกิจ ซึ่งในปี 2020 นี้ ความก้าวหน้าทางด้านดิจิทัลได้เอื้อให้การเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้น สามารถกระจายไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ ได้มากขึ้นโดยไม่ติดข้อจำกัดด้านสถานที่ เวลาและค่าใช้จ่าย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมบุคลากรของประเทศไทยสำหรับอนาคต จึงผนึกกำลังร่วมกับกลุ่มนักสร้างสรรค์และสื่อมวลชนผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เปิดบริการใหม่ในรูปแบบการเรียนรู้ “CEA Online Academy” ให้เป็นคลังแห่งการเรียนรู้ทางออนไลน์สำหรับนักเรียน นักศึกษา นักสร้างสรรค์ และผู้ประกอบการ ที่ต้องการเสริมความรู้และเพิ่มทักษะบนฐานของความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการยกระดับวิชาชีพและการพัฒนาธุรกิจที่สำคัญสำหรับโลกยุคใหม่ ซึ่งการพัฒนาทักษะเดิมให้ทันกับยุคสมัย (Upskill) และการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (Reskill) จะเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้บุคลากรของประเทศไทยสามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจ 4.0 โดยมี 3 กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ เตรียมความพร้อม หลักสูตรเสริมความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ที่จำเป็นสำหรับนักเรียน นักศึกษา ในการก้าวสู่ชีวิตการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ ฟรีแลนซ์ หรือเจ้าของกิจการ เติมทักษะสร้างสรรค์ หลักสูตรเพื่อเสริมทักษะสำหรับนักสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาผลงานและการเติบโตทางธุรกิจ ต่อเสริมธุรกิจ หลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการเพื่อปรับตัวรับสถานการณ์ และต่อยอดไอเดียสู่ธุรกิจ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรดำเนิน “โครงการแพลตฟอร์มเชื่อมโยงเกษตรกรกับสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสู่การเป็นเกษตรกรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี” หรือ เรียกสั้นๆ ว่า “AgTech Connext” เพื่อเป็นสะพานเชื่อมให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรจากสตาร์ทอัพสู่กลุ่มเกษตรกร ด้วยการสร้างพื้นที่เรียนรู้และทดสอบการใช้งานร่วมกัน นับได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สตาร์ทอัพและกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างสังคมแห่งโอกาสและพร้อมก้าวไปสู่การสร้างสรรค์สังคมเกษตรด้วยนวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
“เห็ดเยื่อไผ่” หรือ “เห็ดร่างแห” (Dictyophora indusiata) สมุนไพรของประเทศจีนที่มีสรรพคุณทางยาสูง และกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยประเทศไทยได้นำมาศึกษาวิจัยการเพาะเห็ดเยื่อไผ่ รวมถึงศึกษาสรรพคุณของเห็ดเยื่อไผ่ พบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีคุณสมบัติในการบำรุงผิวพรรณ ทำให้คนไทยหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์จากเห็ดเยื่อไผ่เพิ่มมากขึ้น เห็ดเยื่อไผ่จึงกลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกชนิดที่ได้กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย “สารสกัดจากเห็ดเยื่อไผ่สำหรับบำรุงผิว” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาต่อยอดเป็นเวชภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติรูปแบบต่างๆ โดยสกัดจากเมือกหุ้มดอกเห็ดอุดมไปด้วยกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) อัลลันโทอิน (Allantoin) สารชนิดเดียวกับที่พบในเมือกหอยทาก มีคุณสมบัติบำรุงผิวพรรณ ลดการระคายเคือง เพิ่มความชุ่มชื้น และกรดกลูโคนิค (Gluconic Acid) ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวและช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยลดเลือนริ้วรอยก่อนวัย
กลุ่มเห็ดเยื่อไผ่เทศบาลนครยะลา
“รถเข็นไฟฟ้า” เครื่องมือช่วยเหลือการเดินสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการเดินเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ปัจจุบันอุปกรณ์สามารถเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ผู้ขับขี่ควบคุมได้ตามต้องการ แต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องวงเลี้ยวของตัวรถ “รถเข็นไฟฟ้าชนิดเคลื่อนที่ได้รอบทิศทาง” ได้รับการพัฒนาคิดค้นขึ้นเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ที่ต้องการการเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ อาศัยการเคลื่อนที่ของล้อแมคคานัมที่สามารถเคลื่อนที่รอบทิศทาง โดยใช้รีโมตหรือปุ่มบังคับ ใช้งานง่าย มีความปลอดภัยสูง โดยระบบการทำงานจะถูกตัดโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งกรณีมีปัญหาการเคลื่อนที่ หรือผู้ควบคุมต้องการตัดการสั่งงาน นอกจากนี้ยังสามารถตั้งโปรแกรมต่างๆ ได้แก่ ความเร็วในการเคลื่อนที่ และการเลี้ยว ผลิตจากวัสดุที่หาได้ง่ายในประเทศ ต้นทุนการผลิตต่ำ ผ่านการทดสอบด้านความพึงพอใจจากผู้ใช้แล้ว
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร สกสว.
ปัญหาขยะล้นเมือง ถือเป็นปัญหาเรื้อรังของประเทศ การทิ้งขยะโดยไม่คัดแยกประเภทขยะอย่างถูกต้อง ทำให้ประเภทขยะรีไซเคิลปะปนกับขยะทั่วไปเป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องใช้งบประมาณและระยะเวลาในการจัดการกับปัญหาขยะเหล่านี้ แต่การจัดการขยะที่ปลายทางเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน “แอพพลิเคชั่นขยะแลกแต้ม” หรือ ระบบบริหารจัดการขยะต้นทางส่วนบุคคล ได้รับการพัฒนาคิดค้น เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ โดยการคัดแยกขยะและรับซื้อขยะรีไซเคิลผ่านระบบแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เพื่อสะสมแต้มและแลกรับของรางวัลต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ ส่งผลให้ปริมาณขยะถูกนำกลับเข้าสู่กระบวนการการรีไซเคิล และลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะที่ปลายทางของรัฐ พร้อมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านอุตสาหกรรมรีไซเคิลให้เติบโตยิ่งขึ้น
googreens18
ในกระบวนการฆ่าเชื้อหรือขจัดเชื้อจุลชีพทุกชนิด รวมทั้งสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียออกจากอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์โดยปกติจะใช้ตู้อบความร้อนที่มีอุณหภูมิอยู่ในช่วง Pasteurization ระหว่าง 60 - 80 °C ซึ่งเป็นอุณหภูมิเดียวกันกับการถนอมอาหารชั่วคราว ซึ่งการฆ่าเชื้อจุลชีพด้วยตู้อบความร้อนจำเป็นต้องใช้ “แผ่นตรวจวัดอุณหภูมิ” เพื่อยืนยันว่าความกระบวนการรอบนั้นผ่านการให้ความร้อนตรงตามอุณหภูมิที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบได้บ่อยในกระบวนการดังกล่าวคือ ตู้อบฆ่าเชื้อให้ความร้อนแก่อุปกรณ์ไม่ทั่วถึง หรือการที่อุปกรณ์ได้รับอุณหภูมิไม่ตรงตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลชีพและกระทบต่อมาตรฐานความปลอดภัย นอกจากนี้ แผ่นตรวจวัดอุณหภูมิที่ใช้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมีการกำหนดอุณหภูมิและช่วงเวลาในการตรวจวัดและอาจจะไม่ตรงกับลักษณะของงานหรืออุปกรณ์บางชนิดที่ต้องการใช้ช่วงอุณหภูมิและเวลาที่แตกต่างออกไป อีกทั่งการสั่งซื้อจากต่างประเทศยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากเนื่องจากแผ่นตรวจวัดอุณหภูมิเป็นวัสดุที่ใช้แล้วทิ้งไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ “แผ่นตรวจวัดอุณหภูมิแบบใช้ครั้งเดียว” ได้รับพัฒนาคิดค้นเพื่อใช้วัดอุณหภูมิในงานอบฆ่าเชื้อทั้งในทางการแพทย์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ แสดงผลโดยการเปลี่ยนสีของวัสดุที่นำมาใช้ โดยสามารถเปลี่ยนสีและระบุตัวเลขได้ตามที่ต้องการ ใช้วัตถุดิบที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถกำหนดระดับความร้อนที่ต้องการได้ตั้งแต่ 60°C – 80°C ผลิตในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามความสะดวกในการใช้งานได้ เช่น แผ่นกระดาษหรือสติกเกอร์ที่ใช้ติดลงบนถุงอุปกรณ์ที่เข้าตู้อบความร้อนได้ ที่สำคัญมีต้นทุนต่ำกว่าการนำเข้าถึง70%
KMUTT
“การเคลือบผิวผลไม้” เป็นวิธีที่ช่วยลดการสูญเสียและยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยสารเคลือบที่นำมาใช้จะช่วยทดแทนชั้นไขธรรมชาติที่หลุดหายไปของผลไม้ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวหรือล้างทำความสะอาด ปิดช่องเปิดต่าง ๆ ตามธรรมชาติ ทำให้การสูญเสียน้ำและการแลกเปลี่ยนก๊าซลดน้อยลง สามารถคงคุณภาพของผลไม้เอาไว้ได้ นอกจากนี้ สารเคลือบผิวยังช่วยให้เกิดความมันวาวกับผิวผลไม้ ทำให้ผลไม้มีความสวยงาม น่ารับประทาน สำหรับผลไม้ที่ผ่านการปอกเปลือกแล้ว สารเคลือบผิวยังมีบทบาทสำคัญในการยับยั้งป้องกันการทำลายจากเชื้อโรคด้วย “ฟิล์มเคลือบบริโภคได้” นี้ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับใช้เคลือบผิวผลิตภัณฑ์ผลไม้สดหรือผลไม้สดตัดแต่งพร้อมบริโภค เพื่อลดหรือทดแทนการใช้ฟิล์มเคลือบบริโภคเดิมซึ่งมีราคาสูงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ฟิล์มเคลือบบริโภคจากเทคโนโลยีนี้มีจุดเด่นคือ ผลิตจากแป้งมันสำหลัง /แป้งข้าวเจ้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบราคาไม่แพง หาได้ง่ายภายในประเทศ รวมทั้งจากการทดสอบเปรียบเทียบกับฟิล์มที่ใช้อยู่เดิม พบว่าว่ามีประสิทธิภาพในการคงคุณภาพและช่วยยืดอายุผลไม้สดไว้ได้ดีเทียบเท่าหรือดีกว่า อีกทั้งกระบวนการผลิตง่าย ไม่ยุ่งยาก มีขีดความสามารถในการขยายเพื่อผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
“มวยไทย” มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยและประเทศไทยที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่โบราณกาล เป็นศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวและยังถือเป็นกีฬายอดนิยมประจำชาติไทย ปัจจุบันกีฬามวยไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชาวต่างชาติและประเทศอื่นๆทั่วโลก เพราะเป็นกีฬาที่ท่าทางการออกกำลังเป็นเอกลักษณ์ โดยใช้แรงจากกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะเป็นต่อย เตะ เข่า และศอก ที่เรียกว่า “แม่ไม้มวยไทย” นั่นเอง วิธีการออกแบบและสร้าง “เทคโนโลยีวัดแรงสำหรับทักษะมวย ” ได้รับการพัฒนาคิดค้นสำหรับการวัดและทดสอบสมรรถภาพของนักกีฬามวย ครอบคลุมถึงการต่อย เตะ เข่าและศอก โดยสามารถทดสอบสมรรถภาพทั้งในด้านความเร็ว (Speed) พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) และความคล่องตัว (Agility) ซึ่งจำเป็นต่อทักษะของมวย เหมาะสำหรับทั้งนักกีฬาอาชีพและสมัครเล่นซึ่งช่วยให้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะมวยไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์มีราคาไม่สูง ใช้งานง่าย และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
“ซีเมนต์โปร่งแสง” เป็นนวัตกรรมด้านวัสดุตกแต่งสำหรับสิ่งปลูกสร้างเพื่ออยู่อาศัยและสำนักงาน โดยวัสดุมีลักษณะคล้ายปูนซีเมนต์ที่ผสมผสานวัสดุพิเศษ ใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากปูนซีเมนต์ กระจก บล็อกแก้ว เพื่อใช้เป็นวัสดุตกแต่งภายในหรือนอกอาคาร สามารถผลิตได้หลากหลายรูปแบบและสีสัน มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูง น้ำหนักเบา กำลังรับแรงอัดสูง ผิวมันวาว ทึบน้ำ มีคุณสมบัติที่แสงแดดสามารถผ่านได้แต่ไม่นำความร้อน ช่วยเติมความสว่างภายในอาคาร ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้า ขณะที่ระดับความสว่างแตกต่างกันไปตามความเข้มของแสงระหว่างวัน ส่วนตอนกลางคืนแสงไฟภายในอาคารสามารถส่องทะลุผนังออกมาได้ เปลี่ยนอาคารธรรมดาให้ดูเหมือนว่าจะเรืองแสงได้ เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยผสมผสานองค์ความรู้จากหลากหลายสาขา ทั้งด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม วัสดุศาสตร์ การตลาด และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งนอกจากจะช่วยเติมสีสันให้ผนังสวยงาม มีสไตล์ ยังสามารถผลิตเป็นวัสดุตกแต่งและวัสดุใช้สอยอื่นๆ ได้อีกจำนวนมาก เช่น โคมไฟ โต๊ะ เก้าอี้ ฉากกั้นห้อง รั้ว ฯลฯ นับเป็นอีกทางเลือกของการใช้วัสดุตกแต่งที่แปลกใหม่ ทันสมัย ให้ประโยชน์ และมีแนวคิดด้านการรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ในปัจจุบันธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพประเภท Plant-based Food ซึ่งเป็นอาหารที่ทำมาจากพืชที่ให้โปรตีนสูง โดยนำมาพัฒนารสชาติ กลิ่น และสีสัน ให้เหมือนผลิตภัณฑ์จากสัตว์เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากการที่คนหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลตัวเอง เลือกรับประทานสิ่งที่มีประโยชน์ และผู้บริโภคปัจจุบันยังมีพฤติกรรมที่เรียกว่า Flexitarain คือลดการทานเนื้อสัตว์ลง ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา “เนื้อเทียมวีแกนเสริมโปรตีนข้าวไฮโดรไลเสท” ได้รับการพัฒนาคิดค้นโดยการใช้วัตถุดิบหลักจากข้าวไทยและใช้โปรตีนข้าวไฮโดรไลเสท เพื่อให้ได้เนื้อเทียมทางเลือกใหม่ที่มีสี กลิ่นและเนื้อสัมผัสคล้ายเนื้อ อีกทั้งยังไม่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง กลูเตน และปราศจากผงชูรส นอกจากนี้ในหนึ่งหน่วยบริโภค 100 กรัม เนื้อเทียมมีโปรตีนถึง 18 กรัม ไขมัน 10 กรัม และให้พลังงานทั้งหมด 212 Kcal
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อผูประกอบการ คณะเทคโนโลยีอาหาร ม.รังสิต
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ด้านปศุสัตว์ในอันดับต้นๆของโลก ในขณะที่ผลิตภัณฑ์สารเสริมสุขภาพสัตว์กว่า 80% กลับเป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตสารเสริมในอาหารสัตว์มีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น และมีโอกาสทางการตลาดสูง “ผลิตภัณฑ์สารเสริมสุขภาพสัตว์จากยีสต์แดง” ได้รับการพัฒนาคิดค้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มสารเสริมในอาหารสัตว์ภายในประเทศ ลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังสามารถใช้ได้หลากหลายตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เป็นสารสีในอาหารสัตว์ สารดูดซับสารพิษจากเชื้อรา หรือการใช้เป็นสารทดแทนยาปฎิชีวนะ โดยสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโต และลดการเกิดโรคในสัตว์ได้
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคม จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนา "ผู้บริหารระดับสูง" ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นกำลังพลในการขับเคลื่อนของประเทศ หลักสูตร "ผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล" (Digital CEO) จัดขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาและผลิตกำลังคนดิจิทัล และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเนื้อหาหลักสูตรมุ่งพัฒนาทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนองค์ประกอบทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในมิติต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการนโยบายและแผนงานในยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล และสามารถนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ได้จริง รวมถึง เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารเพื่อเป็นเครือข่ายในการพัฒนาอนาคตของประเทศชาติ ดังนั้น ผู้บริหารที่ผ่านการศึกษาจากโครงการหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันและอนาคต เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการอบรมสัปดาห์ละ 1 – 2 วัน รวมชั่วโมงการศึกษา ไม่น้อยกว่า 140 ชั่วโมง ครอบคลุมทั้งการอบรม การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานถอดบทเรียนจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จจากทั้งในและต่างประเทศ หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital CEO) รุ่นที่ 6 เปิดรับสมัครแล้ว คลิก https://www.depa.or.th/th/digitalceo ทำเนียบนักศึกษาDigital CEO รุ่นที่ 1 https://www.depa.or.th/digitalceo/hall-of-fame-1st ทำเนียบนักศึกษาDigital CEO รุ่นที่ 2 https://www.depa.or.th/digitalceo/hall-of-fame-2st ทำเนียบนักศึกษาDigital CEO รุ่นที่ 3 https://www.depa.or.th/digitalceo/hall-of-fame-3st
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการต่อยอดการศึกษาในทุกระดับชั้น เพราะการศึกษานั้นไม่มีวันที่สิ้นสุด จึงพยายามสร้างโครงการสร้างพื้นฐานให้แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอาชีวะศึกษาและอุดมศึกษา ซึ่งนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้ว สามารถก้าวสู่ตลาดแรงงานพร้อมกับทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน ดังนั้น ระดับทักษะดิจิทัลของนักเรียน นิสิต นักศึกษา มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการยกระดับให้ตรงกับความต้องการของตลาด depa ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และเครือข่ายในการขยายโอกาสให้กับนักศึกษา อาทิ -depa ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เปิดสถาบันพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัลเพื่อ EEC หรือ Digital Academy Thailand (DAT) อย่างเป็นทางการ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน AI และ Data science -depa ร่วมกับ Amata University สร้าง Smart Classroom เป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังคนและบุคลากรดิจิทัล ในระดับ 1) Digital Literacy 2) Professional Skill ด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และ3) Skill based ด้านการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชน -depa ร่วมกับ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) ในการเปลี่ยนห้องสมุดเดิมของวิทยาลัย ให้กลายเป็นศูนย์พัฒนาทักษะดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนอาชีวศึกษาและผู้ประกอบการ” ( I AM Digital Studio and Cloud – Learning Space) มุ่งยกระดับสถาบันอาชีวะให้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล 3 ด้าน คือ ด้าน Data Science, ด้านการประยุกต์เทคโนโลยี Co-Bot (Collaborative Robot) นวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะ และ ด้านการพัฒนา Digital Media depa ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เปิดสถาบันพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัลเพื่อ EEC หรือ Digital Academy Thailand (DAT) อย่างเป็นทางการ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน AI และ Data science จำนวน 1,000 ราย/ปี depa จับมือ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) เปิดตัว “ศูนย์พัฒนาทักษะดิจิทัล เพื่อยกระดับการเรียนอาชีวศึกษา และผู้ประกอบการ” ( I AM Digital Studio and Cloud – Learning Space) มุ่งยกระดับสถาบันอาชีวะให้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัล 3 ด้าน คือ ด้าน Data Science, ด้านการประยุกต์เทคโนโลยี Co-Bot (Collaborative Robot) นวัตกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะ และ ด้านการพัฒนา Digital Media เป็นการพัฒนากำลังคน และบุคลากรด้านดิจิทัล
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วย การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580) ยุทธศาสตร์ที่ ๕: พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) ขึ้นมารองรับ การทำงานในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเน้นทั้งกลุ่มคนทำงานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างผลิตภาพการผลิต (Productivity) ในระบบเศรษฐกิจและกลุ่มคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลอย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนทั่วไป ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญอย่างทัดเทียมกัน ซึ่ง depa ได้มุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของมนุษย์ โดยให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาสมรรถนะของแต่ละวัยทำงานให้ตรงกับความต้องการอุตสาหกรรมทีเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) การเร่งสร้างกำลังคนดิจิทัลทั้งกลุ่มนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ รวมถึงบุคลากรและแรงงานปัจจุบัน ให้มีความพร้อมในด้านทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรมเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิทัลได้อย่างทันท่วงที โดยดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน ทั้ง Large Tech Provider และ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม ตลอดจนภาคการศึกษา เพื่อระดมกำลังเสริมสร้าง Human Capital ของประเทศให้มีทักษะดิจิทัลตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับของภาคอุตสาหกรรม หรือ ได้รับการรับรองตามมาตรฐานประกาศนียบัตรสากล ครอบคลุม ทักษะดิจิทัลที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและภาคอุตสาหกรรม เช่น Cloud Coding Cyber Security Data Analytics Data Science / Data Engineering Digital Content Digital for Executive Program IoT Programing สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากำลังคนดิจิทัล โดยจับมือ สถาบันการศึกษา พร้อมด้วยผู้นำเทคโนโลยีชั้นนำ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพกำลังคนดิจิทัล เพื่อให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม หรือ พัฒนาทักษสอดคล้องตามมาตรฐานวิชาชีพสากล ในหลากหลายสาขา อาทิ โครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศด้วยมาตรฐานระดับสากล ในหลักสูตร CompTIA Cyber Security+ ซึ่ง depa ร่วมกับ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park) โดยการอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมาจากหลากหลายสาขา ทั้งตำแหน่งผู้บริหาร วิศวกร นักวิเคราะห์ เจ้าหน้าที่เครือข่ายและระบบ เจ้าหน้าด้านความปลอดภัย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ธนาคาร บริษัทเอกชน บริษัทประกันภัย บริษัทหลักทรัพย์ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญ ที่มีศักยภาพด้านการป้องกันความปลอดภัยด้านไซเบอร์ อีกทั้งยังช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของประเทศสู่การแข่งขันกับนานาประเทศต่อไป โครงการทดสอบวัดระดับทักษะความรู้ในสาขาวิชาชีพด้าน ICT โดยใช้แบบทดสอบ Test of Practice Competency in ICT: TOPCIT เพื่อวิเคราะห์และประเมินทักษะความเชี่ยวชาญด้าน ICT ดีป้า จับมือ บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ อิงค์ จำกัด พัฒนาศักยภาพกำลังคนและบุคลากรด้าน Internet of Things (IoT) และ Cyber Security ในระดับอาชีวศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคนและบุคลากรให้ครอบคลุมทุกระดับของการศึกษาไทย ให้มีความรู้ ทันโลก ทันเทคโนโลยี และทักษะทางด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะ IoT และ Cybersecurity เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนป้อนสู่อุตสาหกรรม
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลและสังคม ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เดินหน้าภารกิจเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมทัพการเรียนรู้ด้านโค้ดดิ้ง โดยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะ Coding, STEM, AI และ IoT ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ครบคลุมทั้ง โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาบุคลากรทั้งผู้สอน และ ผู้เรียน รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านเทคโนโลยีการศึกษา หรือ Edtech Startup Coding นับเป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่จะก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีลำดับขั้นตอน และสามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่สิ่งต่างๆอย่างสร้างสรรค์ ขั้นตอนของการเขียนโค้ดผู้เรียนจะได้เรียนรู้กระบวนการวางแผน ฝึกฝนกระบวนการคิดและการลงมือทำอย่างมีประสิทธิภาพ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จึงส่งเสริมการพัฒนาทักษะ Coding ตั้งแต่ปี 2561 และต่อยอดสู่การพัฒนาความรู้ด้าน STEM AI และ IoT ครอบคลุมด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ https://manage.depa.or.th/th/coding-school การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง https://manage.depa.or.th/th/skill-coding การส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นด้านเทคโนโลยีการศึกษา (EdTech Startup) https://manage.depa.or.th/th/edtech-startup ดีป้า ดำเนินโครงการ Coding Thailand ตั้งแต่ปี 2561 โดยมีความร่วมมือกับองค์ชั้นนำระดับโลกในการเสริมสร้างการเรียนรู้อย่าง code.org ซึ่งเป็นองค์ไม่แสวงหากำไร และหน่วยงานพันธมิตรภาคเอกชนร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ codingthailand.org ที่มีสาระการเรียนรู้เต็มไปด้วยคุณภาพ ส่วนผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียนโค้ดดิ้ง จะทำให้เด็กไทยได้ฝึกฝนกระบวนคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีป้า ผลักดันโครงการและกิจกรรมใหม่มาเสริมทัพการเรียนรู้โค้ดดิ้ง ทั้งการปรับโฉม CodingThailand.org ที่สามารถเรียนรู้โค้ดดิ้งอย่างสนุกสนานและน่าสนใจ รวมถึงครู อาจารย์ สามารถนำไปสอนเสริมวิชา วิทยาการคำนวณ วิทยาการคอมพิวเตอร์ Codingthailand.org จึงเป็นเสมือน Online Knowledge Community ที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยผสมผสานระหว่างความรู้และสื่อเพื่อความบันเทิง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในตัวบทเรียนโดยไม่เกิดการเบื่อหน่ายผ่านบทเรียนที่สามารถเรียนรู้อย่างสนุกสนาน Youtube CodingThailand https://youtu.be/V-w0DOmLTDE https://youtu.be/Jm-uWcIyJf4 https://youtu.be/T8RBxVhlA0w Youtube wildbear https://youtu.be/5ijbTTMxLNU “Coding Colosseum : สนามเด็กเล่น ของคนชอบโค้ด” สนุกไปกับการเรียนรู้การโค้ดดิ้ง ผ่านการเล่น “เกมหมูป่า” ซึ่งการเป็นหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเยาวชน คือการเรียนรู้แบบสาระบันเทิง (Edutainment) และการเล่มเกม (Gamification) ไปช่วยเหล่าหมูป่าออกจากถ้ำกันเถอะ.. ! Coding Colosseum เป็น Platform แรกของประเทศไทย ในการมุ่งมั่นสร้าง Edutainment Program ผ่าน Gamification ซึ่งมีต้นแบบ Model และ Proof of Concept จากหลายประเทศว่าสามารถเติบโต ระดมทุนได้จริง และสร้างผลกระทบในเชิงบวกได้ในวงกว้าง อีกทั้งเราดำเนินการสร้างเป็นเจ้าของ (Owned) Platform และพัฒนาเกมด้วยตัวเอง อีกทั้งเราจะสร้างระบบอย่างครบวงจร ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถหรือ User ร่วมสร้าง Content (UGC : User Generated Content) ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเข้าใจกระบวนการคิด และการสื่อสารอย่างเป็นระบบ (Computational Thinking) ซึ่งจะสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาอื่น ๆ ทั้งความเข้าใจทั้งด้านอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) วิยาการหุ่นยนต์ (Robotics) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) การจะสร้างให้เด็กและเยาวชนประเทศไทย ให้มีความคุ้นเคยกับ Coding นั้น การปลูกฟังด้านวิชาการอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า หนึ่งในกระบวนการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับเยาวชน คือการเรียนรู้แบบสาระบันเทิง (Edutainment) และการเล่มเกม (Gamification) ที่จะช่วยกระตุ้นความสนใจ เปิดโอกาสให้เยาวชนนำการเรียนรู้ มาพนวกกับความคิดสร้างสรรค์ ความสนุก การแข่งขัน ซึ่งจะทำให้เกิดทั้งความภาคภูมิใจ ความอยากพัฒนา และการกระหายใคร่รู้ (Curiosity) ด้วยตนเองต่อไป อันจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างหัวใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เยาวชนของเรา จึงเป็นที่มาของโครงการ “Coding Colosseum : สนามเด็กเล่น ของคนชอบโค้ด” ติดตามกิจกรรมได้ที่ : www.facebook.com/Thecodingcolosseum คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้ง
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
Digital Lifelong Learning สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) โดยดำเนินการร่วมกับพันธมิตรในการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลขั้นพื้นฐานและทั่วไปให้แก่ประชาชน สามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้จากทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งยังเป็นการขยายโอกาสในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัล และทักษะที่สามารถสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ โดยสามารถกดไปที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อเข้าสู่การเรียนรู้ Thaidigizen.com : ส่งเสริมการทักษะและการเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) โดยดำเนินการ ร่วมกับ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย จำกัด THAI SKILL พัฒนาทักษะไทย สร้างรายได้ สร้างอาชีพ ช่องทางการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน รวมถึงเรียนรู้เทคนิคการสร้างรายได้ เสริมอาชีพ Grab Academy by depa แหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ ที่รวบรวมเทคนิค เคล็ดลับ และ องค์ความรู้ต่างๆ ให้กับพาร์ทเนอร์คนขับ เจ้าของร้านอาหาร พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ และ ประชาชาชนสนใจทั่วไป
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
depa ดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาและบ่มเพาะวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นในทุกระยะการเติบโต เช่น depa JumpStart depa Accelerator Program x Techsauce depa Tech Tycoon+ depa Startup Battleground Startup FastTrack “Go inter with Depa” depa JumpStart โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจจากทั่วประเทศ สามารถสมัครเข้าเรียนหลักสูตรบ่มเพาะที่มีเนื้อหาเข้มข้น และมี Digital Startup ที่ประสบความสำเร็จเป็นพี่เลี้ยง โดยหลักสูตร depa Jumpstart เป็นผสมผสานการเรียนทั้ง Online และ Offline เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั่วไป สามารถเริ่มต้นธุรกิจ Digital Startup ได้อย่างมั่นใจ depa Accelerator Program x Techsauce เป็นโครงการสนับสนุนสตาร์ทอัพที่ depa ร่วมมือกับ Techsauce เพื่อเฟ้นหา Startup จำนวน 20 ทีมเข้าร่วมโปรแกรมกับ Mentor ระดับโลก โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างเอกชนและภาครัฐ โดย Accelerator นี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ Startup ไทยได้เข้ามาร่วมโปรแกรมพัฒนาศักยภาพตัวเอง เพิ่มโอกาสทางการตลาด และช่วยเพิ่มความพร้อมของประเทศไทยด้านเทคโนโลยีให้ก้าวสู่ระดับสากล ทั้งนี้ โครงการได้เปิดรับสมัครทีม Startup จากทุกด้านทั่วประเทศที่มี Product เป็นของตัวเองมาเข้าร่วมโปรแกรม และเน้นให้ความสำคัญกับกลุ่ม Digital Startup ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเข้มข้น Tech Tycoon+ เป็นกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ Digital Startup และผู้ประกอบการเทคโนโลยี ที่พร้อมจะเติบโตทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วยกิจกรรมอบรมความรู้สำหรับธุรกิจช่วงระยะเติบโต (Scale up) อย่างเข้มข้น กิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจเพื่อขยายโอกาสทางทางธุรกิจ กิจกรรมให้คำปรึกษา (Mentoring) แบบตัวต่อตัว เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ Digital Startup ให้สามารถเติบโตสู่การเป็นกิจการระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไปได้ Startup Battleground เป็นกิจกรรม Hackathon ที่จัดขึ้นในงานดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนไทย และภาคเอกชนระดับโลก ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กับ บริษัท ฮับบา จำกัด (HUBBA Thailand) ร่วมด้วยเทคสตาร์ส (Techstars) accelerator ชั้นนำระดับโลก โดยมีวัตถุประสงค์ในการระดมไอเดีย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ต่อยอด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งเป็นเวทีสร้างโอกาสให้แก่ Startup หน้าใหม่ ได้เพิ่มพูนประสบการณ์จากการเข้าร่วม Workshop กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและการแข่งขันบนเวทีจริง โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันเป็นกลุ่ม Startup รวมกว่า 500 คน Startup FastTrack “Go inter with Depa” เป็นโครงการที่ depa ร่วมกับสถาบันเร่งสปีดนวัตกรรมองค์กรและสตาร์ทอัพ และ สำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อส่งเสริมการสร้างสตาร์ทอัพไทยก้าวสู่เวทีโลก โดยโครงการจะส่งเสริมขยายธุรกิจ การลงทุน (Funding) การสร้างเครือข่าย (Networking) ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนวัตกรรมดิจิทัล สร้างช่องทางเผยแพร่ข้อมูลด้านการตลาด อันเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มมูลค่าการซื้อขายและการประชาสัมพันธ์ผู้ประกอบการให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) โดยทีมที่เข้าร่วมโครงการ จะร่วมกิจกรรมเร่งพัฒนาศักยภาพ (Bootcamp) เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และหลังจากผ่านกระบวนการเร่งพัฒนาศักยภาพ จะมีการเชิญนักลงทุนจริงมาให้ความคิดเห็นกับสตาร์ทอัพ เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมและความมั่นใจ ให้กับทีมที่ผ่านการคัดเลือก เพื่อก้าวสู่เวทีการนำเสนอผลงานระดับสากล รวมทั้งทีมที่มีผลงานดีเด่นจะมีโอกาสได้ไปแสดงผลงานต่อหน้านักลงทุนในงานระดับนานาชาติ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล โดยสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น จึงวางเป้าหมายในการดำเนินงาน คือการพัฒนาเครือข่ายและสร้างศักยภาพการเติบโตของวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (From Startup to Scale Up) ที่มุ่งสู่การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยอย่างแข็งแกร่งต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถมีบทบาทนำทั้งในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก ตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ปี พ.ศ. 2561 – 2564 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่มีพลวัตร บนฐานของสังคมที่รู้คิดรู้เท่าทัน และกำลังคนที่สามารถปรับตัวและใช้โอกาสจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล และได้กำหนดให้การพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital startup) เป็นแผนงานหลักในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ท้าทาย เช่น การพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นที่มีศักยภาพ จำนวน 1,000 ราย ในระยะเวลา 4 ปี (2561 – 2564) รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ซึ่งโดยหลักสากล มีการพิจารณาจากการที่วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) มีมูลค่า (Valuation) เกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือที่เรียกว่ายูนิคอร์น (Unicorn) ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ตลอดช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยการส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นผ่านกลไกต่างๆ ทั้งจากความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ตั้งแต่การสร้างความตระหนัก ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจ การตื่นตัว และขยายโอกาสให้วิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นเติบโตมากขึ้นเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาในระบบนิเวศการพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ส่งผลให้ประเทศไทยเริ่มได้รับการจับตามองในระดับนานาชาติในหลายมิติ อาทิ ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่กิจการขนาดใหญ่ให้ความสนใจในการทำงานร่วมกับ Startup อย่างเข้มข้นมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เห็นได้จากการก่อตั้งกองทุนร่วมลงทุนของกิจการขนาดใหญ่ (Corporate Venture Capital: CVC) ที่มีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 600 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน พลวัตรในการพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นในบริบทโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน อันเป็นผลมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ทั้งการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัลอุบัติใหม่ (Emerging digital technologies) ที่มีผลต่อรูปแบบการประกอบธุรกิจ เช่น เทคโนโลยีบล็อกเชน และการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เช่น เทคโนโลยี IoT และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ถือเป็นกลุ่มที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันสูงและดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก จากรายงานพบว่า กลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้รับการลงทุนเพิ่มสูงที่สุดในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาได้แก่ (1) สาขา Advanced Manufacturing & Robotics (2) สาขา AgTech & New Food (3) สาขา Blockchain และ (4) สาขา AI, Big Data & Analytics ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นที่มีศักยภาพในการเชิงเทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบต่อเศรษกิจโลกในอนาคต เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศในระยะยาว
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
หลักการและเหตุผล ด้วยนโยบายคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมานั้นนโยบายด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศข้อ 6.18 แถลงไว้ว่า ต้องการให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัล หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกหลักที่ปฏิรูปกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ การค้า การบริการ รวมทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนจนกลายเป็นระบบดิจิทัล ทำให้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับและปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การจ้างงานที่ดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมทางสังคม ของปัจเจกชน องค์กร และชุมชน การให้บริการของภาครัฐ ตลอดจนถึง การเรียนรู้ เข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่กำหนดนโยบาย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล จึงได้ดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะ Smart City จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต โดยมุ่งหวังให้ประชาชน นักท่องเที่ยว หรือชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตได้ใช้ประโยชน์ดังต่อไปนี้ 1. ให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตสามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้าถึงข้อมูลและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ สร้างธุรกิจ และเพิ่มรายได้ในชุมชน ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งการได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนผ่านบริการดิจิทัลต่าง ๆ ทั้งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับ ประชาชนทุกคน และการเข้าถึงบริการสุขภาพภาครัฐที่ทันสมัยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2. ให้ชาวต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวสามารถใช้ประโยชน์จากบริกการอินเทอร์เน็ตในการทำกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการผลักดันและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมถึงช่วยสร้างบรรยากาศ และเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุนทำธุรกิจในจังหวัดภูเก็ตต่อไป 3. ให้จังหวัดภูเก็ตมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น พร้อมที่จะรองรับการใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Internet of Things (IoT) และนวัตกรรมอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็น Smart City ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต โดยมีรายละเอียดการดำเนินงาน ดังนี้ 3.1 ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi (Hi-speed Wi-Fi) จำนวนไม่น้อยกว่า100 สถานที่ และมีจุดให้บริการรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,000จุดบริการ อัตราการรับ/ส่งข้อมูลความเร็วไม่น้อยกว่า 100/25 Mbpsผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) หรือโครงข่ายประสิทธิภาพสูงเป็นโครงข่ายหลัก ลากไปยังพื้นที่เป้าหมาย และกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านโครงข่ายไร้สาย Wi-Fi 3.2 ให้บริการอุปกรณ์ Digital Signage พร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 21 จุด 3.3 ให้บริการอุปกรณ์ Beacon พร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 จุด 3.4 ให้บริการระบบ Smart City Platformประกอบด้วย 3.4.1 ระบบ Smart City MobileApplicationสำหรับเป็นเครื่องมือเป็นเครื่องมือให้ประชาชนผู้ นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสารทางตรง ถูกต้องจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และได้รับข้อมูลการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่จำเพาะเจาะจงในพื้นที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในพื้นที่หรือจังหวัดได้อีกทางหนึ่งด้วย 3.4.2 ระบบจัดเก็บข้อมูลและการบริหารจัดการข้อมูลแบบบูรณาการ (Big Data) พร้อมให้บริการข้อมูลในลักษณะ Open Data ได้ 3.4.3 ระบบรายงานเพื่อการบริหารจัดการข้อมูล (Reporting Tool)สำหรับนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในการบริหารจัดการ Smart City ได้ ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น Smart Phuket 4.0 https://play.google.com/store/apps/details?id=com.cattelecom.phuketsmartcity https://itunes.apple.com/th/app/smart-phuket-4-0/id1274352407?l=th&mt=8 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสาธารณะด้วยเทคโนโลยีไร้สาย Wi-Fi (Hi-speed Wi-Fi)สำหรับประชาชน นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติ ณ พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จำนวนไม่น้อยกว่า 100สถานที่และมีจุดให้บริการทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 1,000 จุด ให้บริการอัตราการรับ/ส่งข้อมูลความเร็วไม่น้อยกว่า 100/25 Mbpsผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) หรือโครงข่ายประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมถึงพื้นที่เกาะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดภูเก็ตด้วย 2. เพื่อให้มีช่องทางในการช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านการสื่อสาร และเป็นศูนย์กลางในการให้ข้อมูลสำหรับ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านข้อมูลข่าวสารของรัฐและการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตผ่านทางอุปกรณ์ Digital Signageพร้อมระบบที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 21 จุด 3. เพื่อให้มีช่องทางการบริการข้อมูลแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต สำหรับรองรับการดำเนินการพัฒนาSmart Cityดังนี้ 3.1 จัดให้มีอุปกรณ์ Beacon จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 จุดพร้อมระบบที่เกี่ยวข้อง 3.2 จัดให้มีระบบ Smart City Platform จำนวน 1 ระบบ
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หลักการและเหตุผล ด้วยนโยบายคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้ แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ที่ผ่านมานั้น ได้แถลงนโยบายด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ข้อ 6.18 ต้องการให้มีการส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัล ให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัล หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นกลไกหลักที่ปฏิรูปกระบวนการผลิต การดําเนินธุรกิจ การค้า การบริการ รวมทั้งการดําเนินชีวิตประจําวันของประชาชนจนกลายเป็นระบบดิจิทัลทําให้มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับและปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม การจ้างงานที่ดีขึ้น การดําเนินกิจกรรมทางสังคม ของปัจเจกชน องค์กร และชุมชน การให้บริการของภาครัฐ ตลอดจนถึง การเรียนรู้ เข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่กำหนด นโยบายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล จึงได้ดำเนินโครงการบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนไม่จำกัดอายุ การศึกษา สถานะทางการเงินและสังคม ร่วมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายทั้งนี้ โครงการนี้ ได้มีการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในขณะนั้น ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการ (Internet Service Provider: ISP) ต่างๆ เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ในการติดตั้งจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายฟรีในที่สาธารณะ กระจายอยู่ตามสถานที่ชุมชน เช่น สถานศึกษา สถานบริการภาครัฐ สถานีขนส่ง รถไฟ รถประจำทาง ท่าอากาศยาน และ สถานที่ท่องเที่ยวซึ่งจากให้การบริการที่ผ่านมา มีประชาชนได้รับประโยชน์จากบริการเป็นจำนวนมาก แต่ก็พบปัญหาด้านการบริการ โดยเนื่องจากมีการบริหารจัดการแยกกันตามแต่ละผู้ให้บริการ ทำให้ประชาชนต้องลงทะเบียนซ้ำซ้อนหลายครั้งเมื่อเข้าใช้บริการกับผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้บริการ ดังนั้น สดช. จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบตรวจสอบสิทธิการเข้าใช้งาน (Smart Sign-On) ผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือซึ่งสามารถบันทึกรหัสการลงทะเบียนของผู้ใช้ และสามารถ login ใช้บริการได้กับทุกผู้ให้บริการซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งการพัฒนาระบบบริหารจัดการส่วนกลาง ได้แก่ ระบบบริหารจัดการ Web Portal ส่วนกลาง ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับตรวจสอบสถานะอุปกรณ์เครือข่าย และระบบการจัดเก็บประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต (Log) ทั้งนี้ยังเป็นบริการที่เพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการดิจิทัล ที่มีประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในโลกยุคปัจจุบัน วัตถุประสงค์ 1. ดำเนินการปรับปรุงบริการให้มีความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ โดยการจัดให้มีระบบตรวจสอบสิทธิ์การเข้าใช้งานบริการส่วนกลาง ที่ทำให้ผู้ใช้บริการลงทะเบียนเพียงครั้งเดียวสามารถใช้บริการได้กับทุกผู้ให้บริการ (ISP) ที่เข้าร่วมโครงการ 2. จัดให้มีระบบบริหารจัดการ Web Portal ส่วนกลางสำหรับให้ผู้ใช้บริการได้จัดการบัญชีผู้ใช้ได้ด้วยตนเอง และสามารถแสดงตำแหน่งจุดให้บริการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในรูปแบบ Google Map ได้ 3. จัดให้มีระบบบริหารจัดการอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับตรวจสอบสถานะอุปกรณ์เครือข่ายในโครงการที่ให้บริการของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ถึงเวลาแล้วที่โลก…เริ่มเดินหน้าตรวจสอบเทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง AI ที่กำลังฉลาดขึ้นทุกวัน ทุกวันนี้เราต่างคุ้นเคยกับเทคโนโลยี AI กันเป็นอย่างดี จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว และเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับเราขนาดนี้จึงอดไม่ได้ที่จะทำให้เกิดการตั้งคำถามจากคนในสังคม โดยเฉพาะเรื่อง จริยธรรม มาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่งผลให้ในปัจจุบันกลายเป็นข้อถกเถียงใหญ่ในหลายประเทศ ถึงขั้นกลายเป็นซีรีส์หรือภาพยนตร์กันเลยทีเดียว จากเดิมที่มีกฎหมาย General Data Protection Regulation (GDPR) เพื่อควบคุมดูแลในด้านข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว สหภาพยุโรป (EU) จึงเดินหน้าอีกขั้นด้วยการร่างกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้ AI ขึ้นมาในชื่อว่า “Artificial Intelligence Act (AIA)” เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา เป็นกฎหมายแรกของโลกที่ใช้กำกับดูแลขอบเขตการใช้งาน AI ในบริษัทต่างๆ เมื่อผ่านการพิจารณาอนุมัติจะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายภายในประเทศสมาชิกทันที แต่การขยับก้าวนี้ของสหภาพยุโรปไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ในภาคพื้นที่ทวีปเดียวเท่านั้น ยังส่งผลกับนักพัฒนาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพราะไม่ว่าบริการหรือเทคโนโลยีนั้นจะมาจากที่ใดบนโลกก็ต้องถูกตรวจสอบเมื่อถูกนำมาใช้งานในยุโรป ซึ่งร่างกฎหมายนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนและตัวช่วยกำหนดทิศทางเทคโนโลยี AI ในอนาคตได้ ร่างกฎหมาย “Artificial Intelligence Act (AIA)” มีหลักเกณฑ์สำคัญอยู่ 5 ข้อด้วยกัน จากแนวคิดที่ว่าสร้าง AI ที่เชื่อถือได้และเคารพหลักสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ใช้งานพึงได้รับ โดยแบ่งรายละเอียดดังต่อไปนี้ • การกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายหรือการให้บริการระบบ AI ในสหภาพยุโรป • การกำหนดหลักเกณฑ์ในการสร้างความโปร่งใสของระบบ AI ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ • การกำหนดข้อห้ามไม่ให้ใช้ AI ในการสอดส่อง หรือการเฝ้าระวังบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพในพื้นที่สาธารณะ • การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดทิศทางและสร้างความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย • การกำหนดบทลงโทษทางปกครอง ไม่เพียงแค่กำหนดหลักเกณฑ์เท่านั้น ร่างกฎหมายนี้ยังได้จำแนกความเสี่ยงของเทคโนโลยี AI ไว้ใน 4 ระดับด้วยกัน 1.ระดับที่ 1 ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk) เทคโนโลยี AI ที่ขัดต่อค่านิยมของสภาพยุโรป ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานแบบร้ายแรง เช่น การใช้เทคโนโลยีสแกนใบหน้า (Facial Recognition) เพื่อสร้าง Social Credit แบบในประเทศจีน หรือเทคโนโลยีที่แสวงหาผลประโยชน์จากเด็กและผู้พิการ EU ก็จัดหมวดหมู่ให้อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงในระดับนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่ไม่สามารถใช้ได้ในยุโรปอย่างเด็ดขาด 2.ระดับที่ 2 ความเสี่ยงสูง (High Risk) เทคโนโลยี AI ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฎหมาย การระบุตัวตนทางชีวภาพ การบริการสาธารณะ รวมถึงด้านการศึกษาและจัดสรรหาบุคลากร โดยเทคโนโลยีในกลุ่มนี้จะต้องถูกตรวจสอบทั้งวัตถุประสงค์ กระบวนการพัฒนา อัลกอริทึมที่ใช้ในการประมวลผล ไปจนถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่ส่งมอบให้ผู้บริการ เรียกได้ว่าถูกกำกับดูแลในทุกกระบวนการ 3.ระดับที่ 3 ความเสี่ยงจำกัด (Limited Risk) เทคโนโลยี AI ที่มีความเสี่ยงในการถูกแก้ไขดัดแปลงได้ เช่น Chatbot หรือเทคโนโลยี Deep Fake หากถูกใช้งานในยุโรปจะต้องมีการบอกบริบทการใช้งานให้เห็นได้ชัด ไม่สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภค เช่น แจ้งว่าตอนนี้คุณกำลังคุยกับ Chatbot อยู่ โดยเทคโนโลยีในระดับนี้มีข้อยกเว้นด้านการบังคับใช้กฎหมาย สามารถใช้งานได้อย่างอิสระภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ 4.ระดับที่ 4 ความเสี่ยงต่ำ (Minimal Risk) เทคโนโลยี AI ในแบบอื่นๆ ที่ไม่อยู่ใน 3 ระดับที่กล่าวมา สามารถพัฒนาและใช้งานได้ตามปกติ เพียงแค่ผู้พัฒนาหรือผู้ประกอบการมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ตระหนักถึงผู้ใช้งานและผลกระทบต่อสังคม สำหรับร่างกฎหมายนี้ถ้านักพัฒนาหรือผู้ประกอบการทำผิดเงื่อนไขจะมีบทลงโทษสูงสุดถึง 30 ล้านยูโรหรือต้องถูกปรับ 6% จากรายได้ทั้งหมดเลยทีเดียว และในอนาคตสหภาพยุโรปจะมีแผนการจัดตั้ง European Artificial Intelligence Board เพื่อทำหน้าที่กำหนดทิศทางและสร้างความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการวางแผนอนาคตที่สร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั่วโลกอย่างแน่นอน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเกิดขึ้นของร่างกฎหมายนี้มุ่งเน้นการสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้บริโภคเป็นหลัก ทั้งคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นและเพิ่มความโปร่งใสในการพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัยเมื่อได้ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ แต่ในทางตรงกันข้ามก็อาจทำให้เกิดข้อจำกัดมากขึ้น ส่งผลให้พัฒนานวัตกรรมได้ล่าช้ากว่าเดิมและสามารถเกิดข้อพิพาทได้ง่าย เนื่องจากการประเมินความเสี่ยงทั้ง 4 ระดับยังมีข้อคลุมเครือ รวมถึงอาจมีประเด็นใหม่ๆ ในอนาคตที่ไม่สอดคล้องกับทั้ง 4 ระดับ ร่างกฎหมายนี้จึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาและสร้างข้อถกเถียงในสังคมต่อไป และไม่ใช่แค่สภาพภาพยุโรปที่เดินหน้าควบคุม AI สภาประชาชนแห่งมหานครเซินเจิ้น ประเทศจีนก็ได้เตรียมออกร่างกฎหมายในลักษณะนี้เช่นกัน แต่เป็นการควบคุมในระดับท้องถิ่นในเมืองที่เรียกได้ว่าเป็นซิลิคอนวัลเลย์แห่งโลกตะวันออก โดยข้อกำหนด หลักเกณฑ์ต่างๆ จะเป็นอย่างไรก็ต้องคอยติดตามในอนาคต แม้ตอนนี้ในประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายในลักษณะนี้โดยตรง แต่เราก็อยากชักชวนให้นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคทุกคนได้เข้าใจการเคลื่อนไหวในมิติด้านกฎหมายนี้ไว้ เพราะมันจะสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมได้ในหลายมิติ สุดท้ายถ้าคุณอยากทำความรู้จักเทคโนโลยีด้าน AI ให้มากขึ้น รวมถึงนวัตกรรมด้าน Deep Tech ในรูปแบบอื่นๆ งาน Virtual Event “SITE 2021 : DEEPTECH RISING” เป็นอีกงานหนึ่งที่จะมาเปิดโลกนวัตกรรมให้กว้างขึ้น ก้าวทันเทคโนโลยี และสร้างความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมในมิติต่างๆ คลิกเข้าชมแบบย้อนหลังได้ที่นี่ > https://site.nia.or.th/ ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://t-reg.co/blog/t-reg-knowledge/what-is-pdpa/https://eur-lex.europa.eu/legal-content/
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Innovation Synergy Account เข้าร่วมเป็นเครือข่ายด้านนวัตกรรมร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลนวัตกรรม
AI e-Service แนะนำข้อมูล บริการอิเล็กทรอนิกส์
เตรียมทำความรู้จักกันไว้เลย เพราะเทคโนโลยีนี้กำลังเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคุณ! “Robotics” เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งในด้าน Deep Tech ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและในเชิงภาพรวมอุตสาหกรรมก็มีมูลค่าตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของ International Federation of Robotics (IFR) พบว่า ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 31% หรือ 48 ล้านตัว ภายในปี 2564 นับว่าเป็นตัวเลขที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งกำลังบอกทิศทางในอนาคตว่า เทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของคนไปแล้ว ในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด เพราะแทรกซึมอยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรมหรือหุ่นยนต์บางประเภทผู้บริโภคทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้ในชีวิตประจำวัน โดยในวันนี้เราก็จะมาแนะนำหุ่นยนต์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจตลอดในช่วงปี 2020-2021 มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน ซึ่งเน้นหุ่นยนต์ที่มีฟังก์ชันที่น่าสนใจและไม่ได้มีให้เห็นบ่อยๆ ในประเทศไทย ส่วนจะมีอะไรบ้างมาดูไปพร้อมกันเลย “Cyan Robotics” หุ่นยนต์ส่งอาหาร จาก Coco Robotics ท่ามกลางการเติบโตของฟู้ดเดลิเวอรี่ก็ได้มีสตาร์ทอัพที่เห็นโอกาสและช่องว่างที่ยังไม่มีใครเข้ามาพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพราะโดยส่วนใหญ่จะเน้นพัฒนาในส่วนของแพลตฟอร์มที่เป็นตัวกลางระหว่างร้านอาหารและผู้บริโภคเป็นหลักCoco Robotics สตาร์ทอัพด้านหุ่นยนต์หน้าใหม่จากรั้วมหาวิทยาลัย (UCLA) จึงได้สร้างหุ่นยนต์ส่งอาหารขึ้นมาในชื่อ “Cyan Robotics” เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเหมือนกล่องเก็บของติดล้อ โดยสามารถส่งอาหารได้อย่างรวดเร็วและเชื่อมต่อกับระบบของร้านอาหารได้ ทำให้สามารถติดตามออเดอร์ได้อย่างสะดวก แม้ Cyan Robotics จะยังไม่ถูกใช้อย่างจริงจัง แต่ก็ถือว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะมาพลิกวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ได้ในอนาคต และในตอนนี้ Coco Robotics ก็ได้รับเงินทุนสนับสนุนกว่า 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากนักลงทุนในซิลิคอนวัลเลย์จนกลายเป็นสตาร์ทอัพในระดับซีรีย์ A ไปเรียบร้อยแล้ว “Stretch” หุ่นยนต์ยกกล่องอัจฉริยะในคลังสินค้า จาก Boston Dynamics ปัจจุบันหุ่นยนต์หรือเทคโนโลยีที่ใช้อยู่กับคลังสินค้านั้นมีข้อจำกัด อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ อยู่บ่อยครั้ง เช่น ทำของตก ทำสินค้าเสียหายเพราะใช้แรงมากเกินไป ควบคุมแรงไม่ได้ Boston Dynamics บริษัทผลิตหุ่นยนต์ในระดับแนวหน้าของโลก จึงได้ทำการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า “Stretch” เป็นหุ่นยนต์ยกกล่องอัจฉริยะ ที่สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าหรือพัสดุให้เหมือนกับมนุษย์เพื่อใช้ในคลังสินค้าโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนมากกว่าหุ่นยนต์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมทั่วไป ล่าสุด Stretch ได้มีการพัฒนาแล้วกว่า 4 เวอร์ชัน ถึงขั้นเรียนรู้น้ำหนักได้ด้วยตัวเอง ผ่านกลไกแบบ Machine Learning แม้เทคโนโลยีนี้จะอยู่ในระหว่างการพัฒนา แต่ก็สร้างแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะถ้านำเทคโนโลยีนี้เข้าไปใช้งานแบบเต็มรูปแบบจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำลังการขนย้ายสินค้าได้เร็วขึ้นและนานขึ้นหลายเท่าตัว “Autonomous Weeder” หุ่นยนต์กำจัดวัชพืชไร่นาอัตโนมัติ จาก Carbon Robotics สำหรับแวดวงการเกษตรก็ไม่น้อยหน้า มีเทคโนโลยีด้าน Robotics ที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการทำงานของคนให้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเช่นกัน ซึ่งใครจะไปคิดว่า เครื่องจักรด้านการเกษตรในทุกวันนี้ สามารถขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้แล้ว ไม่ต่างอะไรกับโหมด Autopilot ในรถยนต์ Tesla โดย Carbon Robotics สตาร์ทอัพผู้บุกเบิกการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการเกษตร ได้ทำการเปิดตัว “Autonomous Weeder” หุ่นยนต์กำจัดวัชพืชไร่นาอัตโนมัติขึ้นมา นับว่าเป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับเทคโนโลยีด้านการเกษตรหรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์เอง โดย Autonomous Weeder สามารถกำจัดวัชพืชได้ถึง 37.5 – 50.6 ไร่ต่อวัน ด้วย AI และเลเซอร์นำทางที่สามารถกำหนดทิศทางและกำจัดวัชพืชได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการใช้หุ่นยนต์ตัวนี้ยังไม่เป็นอันตรายต่อหน้าดิน เพราะใช้วิธีการกำจัดด้วยความร้อน เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยเกษตรกรได้มาก ทั้งประหยัดต้นทุนและช่วยให้ผลผลิตเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ “Scythe Cuts” หุ่นยนต์ตัดหญ้าอัตโนมัติ จาก Scythe Robotics ก่อนหน้าพูดถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ไปแล้ว ถัดมาเราจึงมาแนะนำให้ทุกคนรู้จักหุ่นยนต์ที่ผู้บริโภคทั่วไปสามารถเข้าถึงได้บ้าง ซึ่งก็คือ “Scythe Cuts” หุ่นยนต์ตัดหญ้าอัตโนมัติ จากสตาร์ทอัพที่มีชื่อว่า Scythe Robotics เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ตอบโจทย์คนยุคใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะโดยปกติเครื่องตัดหญ้าทั่วไปอาจต้องใช้น้ำมัน แต่สำหรับหุ่นยนต์ตัวนี้ใช้พลังงานไฟฟ้า ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ แถมปล่อยให้ทำงานได้เลยโดยไม่ต้องควบคุม เอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้สบายๆ การทำงานของ Scythe Cuts กลไกหลักจะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า 3D Mapping และเซนเซอร์อัลตราโซนิกระดับ 12x เพื่อกำหนดขอบเขตการทำงาน คาดเดาความสั้นยาวของพื้นหญ้าและทำการตัดหญ้าอยู่ในระนาบเดียวกัน ถ้ามีวัสดุแปลกปลอมเข้ามาในระบบก็สามารถหลบเลี่ยงได้ แถมยังทำงานได้แบบ 360 องศาและรองรับพื้นที่ที่มีความขรุขระ โดยหุ่นยนต์ตัวนี้จะวางแผนขายในปี 2022 และได้รับเงินลงทุนแล้วประมาณ 13.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากนักลงทุนหลายราย คลิกเข้าชมได้ที่นี่ > https://site.nia.or.th/ ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/913238 https://www.cocodelivery.com/ https://labusinessjournal.com/news/2021/sep/06/coco-raises-36-
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ข้อมูลที่น่าสนใจ
สำหรับคุณ