ข้อมูลผลงานนวัตกรรม-
• รายละเอียดของผลงานนวัตกรรม
โครงการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยการวิจัยและพัฒนา ชุดโครงการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ได้ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “วช.” และศูนย์วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศผ่านการทำวิจัยและพัฒนาภายในประเทศ ส่งเสริมให้เกิดนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติซึ่งอยู่ในกลุ่ม New S-Curve ตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ได้กำหนดกรอบของการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไว้ 3 ด้านครอบคลุม 1) การพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร 2) การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อประยุกต์ในงานด้านการแพทย์ เพื่อใช้ในการวินิจฉัย วิเคราะห์ รักษา ตลอดจนการฟื้นฟูและฝึกหัด เพื่อเรียนรู้และฝึกฝน 3) การพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ใช้ในงานบริการ ภาคการศึกษา ภาคการสำรวจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการสันทนาการ โดยในปีงบประมาณ 2563 นี้ได้กำหนดเป้าหมายของการให้ทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมเป้าหมาย 15 โครงการต่อปี มีเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 10 แห่ง มีนักวิจัยที่ร่วมโครงการจำนวน 15 คนต่อปี และให้มีนักวิจัยหน้าใหม่ 2 คนต่อปี ตามลำดับ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่ประกาศโจทย์หรือทาบทามนักวิจัยที่มีศักยภาพให้เขียน concept paper และร่วมกับ วช. พัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับนักวิจัย และ stakeholder ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ พร้อมกันนี้ ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัยกับภาคเอกชนและได้จัดทำข้อมูลนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เข้าร่วมประชุมและติดตามความก้าวหน้าของวงการวิชาการและวงการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของชุดโครงการ จากผลการดำเนินงานของโครงการที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายมีความพึงพอใจแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานในระดับดีมาก สามารถได้โจทย์วิจัยจากผู้ใช้และพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการจำนวน 51 โจทย์สูงกว่าที่กำหนดไว้ ได้ข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์แล้ว 15 ฉบับจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15 ฉบับ โดยได้มีการส่งรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจำนวน 5 ฉบับ ทั้งนี้ได้มีโครงการอยู่ระหว่างการพัฒนา (ที่เริ่มภายใน 12 เดือนนี้) จำนวน 15 โครงการและโครงการที่ได้เซ็นสัญญา (ภายใน 12 เดือนนี้) 8 โครงการ มีการจัดทำและอัพเดทฐานข้อมูลนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญและอุตสาหกรรมด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ พร้อมกันนี้ ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายระหว่างนักวิจัยกับภาคเอกชนและได้จัดทำข้อมูลนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เข้าร่วมประชุมและติดตามความก้าวหน้าของวงการวิชาการและวงการอื่นที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของชุดโครงการ 2 ครั้ง เข้าร่วมประชุมในกิจกรรมที่ วช.จัดขึ้น และปฏิบัติหน้าที่อื่น 10 ครั้ง ประสานกับหน่วยงานภาคราชการและสถาบันวิจัยของภาครัฐและเอกชน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของชุดโครงการและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 40 หน่วยงาน รวมถึงการเดินทางไปหารือกับนักวิจัยและผู้ประกอบการ ร่วมออกบูธประชาสัมพันธ์และอื่นๆ มีนักวิจัยด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คนสูงกว่าที่กำหนดไว้โดยมีนักวิจัยหน้าใหม่ 5 คน นอกจากนี้ ลักษณะงานมีความหลากหลายมากกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบไปด้วย ด้านอุตสาหกรรมอาหาร การดูแลผู้สูงอายุ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ การพัฒนากระบวนการผลิต และการวิเคราะห์ทดสอบ เป็นต้น ในปี 2563 นี้ มี 8 โครงการ ที่ได้รับทุนสนับสนุน มีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น Machine vision, Machine design, Welding automation, Deep Learning, Robotics, SCADA system, ROS, IOT, AR, VR เป็นต้น โดยสามารถแยกเป็นระบบใหญ่ได้ดังนี้ 1.ใช้เทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้ามากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีเว็บ Microservice เทคโนโลยี IoT เทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ทั้งแบบมีสายและไร้สาย เทคโนโลยี Business Workflow เทคโนโลยีการแสดงผล 3 มิติในโลกเสมือนจริง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาให้เป็นแพลตฟอร์มระบบเปิดของซอฟต์แวร์ SCADA สำหรับกลุ่มบริษัท SME ของไทยที่จะมุ่งไปสู่ Industry 4.0 2. Optimization of Integrated Industrial Robot and Laser Tracking. 3. Using Machine Vision for Quality Inspection System 4. Development of Automation Systems in Food Processes for Industries by using Robotics. 5. ใช้เทคโนโลยีวงกว้างพิเศษ (Ultra-wideband, UWB) เพื่อเสริมความแม่นยำให้กับระบบ simultaneous localization and mapping (SLAM) ในการระบุตำแหน่งและนำทางอัตโนมัติให้กับ AGV สามารถวิ่งภายใน-ภายนอกอาคารแบบเรียลไทม์ รวมทั้งการใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) มาพัฒนาระบบนำทางอัจฉริยะอีกด้วย
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
-
• ความต้องการในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น
• Keyword :
สำนักประสานงานชุดโครงการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ, Robotic and Automation Industry Research Program
• ราคาของผลงานนวัตกรรม :
ยังไม่ได้กำหนดราคา
สถานที่เยี่ยมชมผลงานนวัตกรรม+
ข้อมูลกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา+
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
สำนักประสานงานชุดโครงการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
• ราคาของผลงานนวัตกรรม : ยังไม่ได้กำหนดราคา

• ชื่อเจ้าของข้อมูล :
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
• ประเภทผลงานนวัตกรรม :
งานวิจัย
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
หุ่นยนต์
• ระดับนวัตกรรม :
• ความต้องการจำหน่าย :
Directory ประชาสัมพันธ์เท่านั้น
• Keyword :
วันที่เผยแพร่: -
|
ผู้เยี่ยมชม: 40
ผลงานนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf