ข้อมูลองค์ความรู้-
• รายละเอียดขององค์ความรู้
#ประเทศไทยชึ้นชื่อว่าเป็น Medical Hub ที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่ต้องนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากต่างประเทศถึงปีละกว่าหกหมื่นล้านบาท
ตั้งแต่ก่อนวิกฤติโรคระบาดเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับคนทั้งโลก ประเทศไทยเราถือเป็นอีกจุดหมายปลายทางที่คนทั่วโลกอยากจะเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ เพราะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีฝีมือในระดับโลก มีโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำหลายแห่งที่มีการบริการที่น่าประทับใจ จนขึ้นชื่อได้ว่าเป็น Medical Hub ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก จากการจัดอันดับในหลายดัชนี เช่น Global Health Security Index ประเทศไทยติดอันดับที่ 5 จาก 195 ประเทศ
แต่ทุกคนทราบกันไหมว่า ประเทศไทยเรากลับต้องนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศถึงปีละหกหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงมาก ยิ่งเมื่อมาเจอกับวิกฤติโรคระบาดที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ทั่วโลกเริ่มขาดแคลน และความซับซ้อนของโรคที่เพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีต้นทุนราคาแพงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำมารักษาชีวิตผู้คนได้ โจทย์นี้จึงกลายเป็นอีกความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญ
รายการ #NIAnatomy Episode ที่ 10 นี้ “คุณตั้ม อุกฤช กิจศิริเจริญชัย” ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ จาก NIA ซึ่งมีบทบาทในการดูแลนวัตกรรมรายสาขาอย่าง MedTech หรือนวัตกรรมการแพทย์ ได้มาเผยถึงเส้นทางของนวัตกรรมการแพทย์ไทย ทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เทรนด์นวัตกรรมการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ไปจนถึงเรื่องกลไกการพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์ ว่าจะกลายเป็นต้นแบบย่านนวัตกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้ได้อย่างไร
ฟังเรื่องราวแบบเต็มๆ ได้ที่ https://soundcloud.com/niathailand/ep10-nianatomy-podcast
"ปัจจุบันเทรนด์นวัตกรรมทางการแพทย์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เกิดการแข่งขัน และมีผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก การนำ DeepTech มาประยุกต์กับนวัตกรรมการแพทย์"
เมื่อเราพูดถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยส่วนใหญ่ เราก็จะนึกถึงอุปกรณ์ที่ช่วยในการรักษาเป็นหลัก เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องผ่าตัด ซึ่งแน่นอนว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีต้นทุนสูง เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ต้องมี Clinical research รองรับ และผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะมาเป็นอุปกรณ์ที่แพทย์สามารถใช้เพื่อการรักษาได้ ทำให้มีผู้ผลิตและพัฒนาน้อยราย กลไกราคาจึงขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเป็นหลัก
แต่ปัจจุบันเทรนด์นวัตกรรมการแพทย์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ DeepTech เข้ามาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมการแพทย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI ที่ช่วยในการคัดกรองโรค เทคโนโลยี Blockchain ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเวชระเบียนผู้ป่วย เทคโนโลยี 3D Printing ที่จะช่วยสร้างอวัยวะเทียม ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ช่วยในการผ่าตัดและนวัตกรรมในกลุ่ม Biotechnology ที่จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพในหลายด้าน
คำว่านวัตกรรมการแพทย์ในยุคนี้จึงเป็นมากกว่าการรักษา เพราะมันคือเครื่องมือที่เข้ามาอยู่ในทุกกระบวนการของการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดมากขึ้น มีผู้เล่นหน้าใหม่อยู่ตลอดเวลา เกิดนวัตกรรมในแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการดูแลสุขภาพของผู้คน
“หากเราลดการนำเข้าด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้วยตัวเอง ก็จะช่วยให้ผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัยได้มากขึ้น”
จากปัญหาที่เราเคยพูดถึงในตอนต้นว่า ประเทศไทยต้องนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์สูงถึงหกหมื่นล้านบาทต่อปี ผสานกับทิศทางเทรนด์นวัตกรรมการแพทย์ยุคใหม่ที่มุ่งใช้เทคโนโลยี DeepTech มากขึ้น นี่จึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะลดการพึ่งพาอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ เพราะประเทศไทยก็มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมเป็นของตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยให้คนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง แถมยังช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันได้มีสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยหลายรายที่กำลังพัฒนานวัตกรรมการแพทย์อยู่เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น นวัตกรรม “Inspectra” จากสตาร์ทอัพที่มีชื่อว่า Perceptra ได้ใช้ AI ในรูปแบบ Deep Learning เข้ามาช่วยแพทย์วินิจฉัยเอกซเรย์ปอดผู้ป่วยโควิด รวมถึงโรคที่มีอาการเกี่ยวข้องกับปอดโรคอื่นๆ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมาก เพราะสามารถช่วยลดภาระงานของรังสีแพทย์ที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้วให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรือผลงานนวัตกรรมสุดล้ำอย่าง “H3 Lumio 3D Face Scanner” เครื่องสแกนใบหน้าสามมิติคุณภาพสูงสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ จาก Lumio 3D ที่จะเข้ามาช่วยให้การศัลยกรรมใบหน้ามีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หรือนำไปใช้กับการรักษาอวัยวะอื่นที่อยู่บนใบหน้าได้ เช่น งานทันตกรรม เป็นต้น
"YMID และ SMID เป็นโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่จาก NIA ทำหน้าที่สร้างระบบนิเวศนวัตกรรมการแพทย์ไทย ให้มีประสิทธิภาพจนเป็นที่น่าจับตาของภูมิภาค"
ความท้าทายในเรื่องนวัตกรรมการแพทย์ ไม่ได้มีแค่เรื่องของราคาและการแข่งขันในตลาด เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพัฒนาร่วมกัน ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีองค์ความรู้ด้านการแพทย์และเทคโนโลยีควบคู่กันไป รวมถึงการทำให้คนไทยยอมรับและมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของไทยมากขึ้น NIA จึงเข้ามาช่วยเติมเต็มในส่วนนี้ด้วย
หนึ่งในกลไกการทำงานที่สำคัญคือ การพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District: YMID) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ถนนโยธี จังหวัดกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District: SMID) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำหน้าที่พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมการแพทย์ของไทย ช่วยสร้างองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม แบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน และเชื่อมโยงทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาให้ทำงานร่วมกันมากขึ้น ผ่านหลากหลายโครงการในย่าน รวมถึงช่วยดึงดูดเงินลงทุนให้เข้ามาในพื้นที่นี้ด้วย เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพจนเป็นที่น่าจับตาในภูมิภาค
และนอกจากจะเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดคนเข้ามาแล้ว ทั้ง 2 พื้นที่นี้ยังเปรียบเสมือนเป็น Sandbox หรือ Playground ให้กับผู้ประกอบการนวัตกรรมได้มาเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในมิติของงานวิจัย Clinical research การพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานการผลิต จนสามารถนำมาใช้จริงกับสถานพยาบาลได้ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังพัฒนานวัตกรรมการแพทย์อยู่ ที่แห่งนี้ตอบโจทย์ในทุกด้านที่ต้องการ
ทำความรู้จัก “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” เพิ่มเติมได้ที่ > https://ymid.or.th/
ทำความรู้จัก “ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก” เพิ่มเติมได้ที่ > https://smid.or.th/
ตั้งแต่ก่อนวิกฤติโรคระบาดเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับคนทั้งโลก ประเทศไทยเราถือเป็นอีกจุดหมายปลายทางที่คนทั่วโลกอยากจะเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ เพราะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีฝีมือในระดับโลก มีโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำหลายแห่งที่มีการบริการที่น่าประทับใจ จนขึ้นชื่อได้ว่าเป็น Medical Hub ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก จากการจัดอันดับในหลายดัชนี เช่น Global Health Security Index ประเทศไทยติดอันดับที่ 5 จาก 195 ประเทศ
แต่ทุกคนทราบกันไหมว่า ประเทศไทยเรากลับต้องนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศถึงปีละหกหมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงมาก ยิ่งเมื่อมาเจอกับวิกฤติโรคระบาดที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ทั่วโลกเริ่มขาดแคลน และความซับซ้อนของโรคที่เพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งมีต้นทุนราคาแพงเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำมารักษาชีวิตผู้คนได้ โจทย์นี้จึงกลายเป็นอีกความท้าทายที่ประเทศไทยต้องเผชิญ
รายการ #NIAnatomy Episode ที่ 10 นี้ “คุณตั้ม อุกฤช กิจศิริเจริญชัย” ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรม ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจ จาก NIA ซึ่งมีบทบาทในการดูแลนวัตกรรมรายสาขาอย่าง MedTech หรือนวัตกรรมการแพทย์ ได้มาเผยถึงเส้นทางของนวัตกรรมการแพทย์ไทย ทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เทรนด์นวัตกรรมการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ไปจนถึงเรื่องกลไกการพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์ ว่าจะกลายเป็นต้นแบบย่านนวัตกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้ได้อย่างไร
ฟังเรื่องราวแบบเต็มๆ ได้ที่ https://soundcloud.com/niathailand/ep10-nianatomy-podcast
"ปัจจุบันเทรนด์นวัตกรรมทางการแพทย์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เกิดการแข่งขัน และมีผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก การนำ DeepTech มาประยุกต์กับนวัตกรรมการแพทย์"
เมื่อเราพูดถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์โดยส่วนใหญ่ เราก็จะนึกถึงอุปกรณ์ที่ช่วยในการรักษาเป็นหลัก เช่น เครื่องเอกซเรย์ เครื่องผ่าตัด ซึ่งแน่นอนว่าอุปกรณ์เหล่านี้มีต้นทุนสูง เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อน ต้องมี Clinical research รองรับ และผ่านหลายขั้นตอนกว่าจะมาเป็นอุปกรณ์ที่แพทย์สามารถใช้เพื่อการรักษาได้ ทำให้มีผู้ผลิตและพัฒนาน้อยราย กลไกราคาจึงขึ้นอยู่กับผู้ผลิตเป็นหลัก
แต่ปัจจุบันเทรนด์นวัตกรรมการแพทย์เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ DeepTech เข้ามาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมการแพทย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI ที่ช่วยในการคัดกรองโรค เทคโนโลยี Blockchain ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเวชระเบียนผู้ป่วย เทคโนโลยี 3D Printing ที่จะช่วยสร้างอวัยวะเทียม ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ช่วยในการผ่าตัดและนวัตกรรมในกลุ่ม Biotechnology ที่จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพในหลายด้าน
คำว่านวัตกรรมการแพทย์ในยุคนี้จึงเป็นมากกว่าการรักษา เพราะมันคือเครื่องมือที่เข้ามาอยู่ในทุกกระบวนการของการดูแลสุขภาพ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดมากขึ้น มีผู้เล่นหน้าใหม่อยู่ตลอดเวลา เกิดนวัตกรรมในแนวทางใหม่ๆ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการดูแลสุขภาพของผู้คน
“หากเราลดการนำเข้าด้วยการพัฒนานวัตกรรมด้วยตัวเอง ก็จะช่วยให้ผู้คนเข้าถึงเทคโนโลยีการแพทย์ที่ทันสมัยได้มากขึ้น”
จากปัญหาที่เราเคยพูดถึงในตอนต้นว่า ประเทศไทยต้องนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์สูงถึงหกหมื่นล้านบาทต่อปี ผสานกับทิศทางเทรนด์นวัตกรรมการแพทย์ยุคใหม่ที่มุ่งใช้เทคโนโลยี DeepTech มากขึ้น นี่จึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะลดการพึ่งพาอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ เพราะประเทศไทยก็มีศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมเป็นของตัวเองได้ ซึ่งจะช่วยให้คนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ทันสมัยได้มากขึ้นในราคาที่ถูกลง แถมยังช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันได้มีสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยหลายรายที่กำลังพัฒนานวัตกรรมการแพทย์อยู่เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น นวัตกรรม “Inspectra” จากสตาร์ทอัพที่มีชื่อว่า Perceptra ได้ใช้ AI ในรูปแบบ Deep Learning เข้ามาช่วยแพทย์วินิจฉัยเอกซเรย์ปอดผู้ป่วยโควิด รวมถึงโรคที่มีอาการเกี่ยวข้องกับปอดโรคอื่นๆ ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมอย่างมาก เพราะสามารถช่วยลดภาระงานของรังสีแพทย์ที่มีจำนวนน้อยอยู่แล้วให้ทำงานได้สะดวกขึ้น หรือผลงานนวัตกรรมสุดล้ำอย่าง “H3 Lumio 3D Face Scanner” เครื่องสแกนใบหน้าสามมิติคุณภาพสูงสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ จาก Lumio 3D ที่จะเข้ามาช่วยให้การศัลยกรรมใบหน้ามีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หรือนำไปใช้กับการรักษาอวัยวะอื่นที่อยู่บนใบหน้าได้ เช่น งานทันตกรรม เป็นต้น
"YMID และ SMID เป็นโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่จาก NIA ทำหน้าที่สร้างระบบนิเวศนวัตกรรมการแพทย์ไทย ให้มีประสิทธิภาพจนเป็นที่น่าจับตาของภูมิภาค"
ความท้าทายในเรื่องนวัตกรรมการแพทย์ ไม่ได้มีแค่เรื่องของราคาและการแข่งขันในตลาด เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องพัฒนาร่วมกัน ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ให้มีองค์ความรู้ด้านการแพทย์และเทคโนโลยีควบคู่กันไป รวมถึงการทำให้คนไทยยอมรับและมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของไทยมากขึ้น NIA จึงเข้ามาช่วยเติมเต็มในส่วนนี้ด้วย
หนึ่งในกลไกการทำงานที่สำคัญคือ การพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District: YMID) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ถนนโยธี จังหวัดกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (Suandok Medical Innovation District: SMID) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำหน้าที่พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมการแพทย์ของไทย ช่วยสร้างองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม แบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน และเชื่อมโยงทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาให้ทำงานร่วมกันมากขึ้น ผ่านหลากหลายโครงการในย่าน รวมถึงช่วยดึงดูดเงินลงทุนให้เข้ามาในพื้นที่นี้ด้วย เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพจนเป็นที่น่าจับตาในภูมิภาค
และนอกจากจะเป็นพื้นที่ที่ดึงดูดคนเข้ามาแล้ว ทั้ง 2 พื้นที่นี้ยังเปรียบเสมือนเป็น Sandbox หรือ Playground ให้กับผู้ประกอบการนวัตกรรมได้มาเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งในมิติของงานวิจัย Clinical research การพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐานการผลิต จนสามารถนำมาใช้จริงกับสถานพยาบาลได้ ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังพัฒนานวัตกรรมการแพทย์อยู่ ที่แห่งนี้ตอบโจทย์ในทุกด้านที่ต้องการ
ทำความรู้จัก “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” เพิ่มเติมได้ที่ > https://ymid.or.th/
ทำความรู้จัก “ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก” เพิ่มเติมได้ที่ > https://smid.or.th/
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
27 สิงหาคม 2565
• Keyword :
MedTech, NIA, การแพทย์
ผู้ประกอบการ/โครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง+
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
#ประเทศไทยชึ้นชื่อว่าเป็น Medical Hub ที่มีชื่อเสียงระดับโลก แต่ต้องนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากต่างประเทศถึงปีละกว่าหกหมื่นล้านบาท

• ชื่อเจ้าของข้อมูล :
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
การแพทย์ครบวงจร
วันที่เผยแพร่: 27 สิงหาคม 2565
|
ผู้เยี่ยมชม: 23
องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf