ข้อมูลองค์ความรู้-
• รายละเอียดขององค์ความรู้
บทความ | วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์
“การสร้างกำลังคนภาคอุตสาหกรรม” เป็นโจทย์สำคัญที่อีอีซี (EEC) หรือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มุ่งพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนของอุตสากรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีความต้องการบุคลากรกว่า 5 แสนคนในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนกลุ่มอาชีวศึกษา ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องได้รับการอัปสกิล พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ให้เท่าทันเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยมี EECi หรือ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
EECi x SMC ขับเคลื่อนนวัตกรรมคู่กำลังคน
“EECi ไม่ได้มุ่งพัฒนาเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมเท่านั้น แต่ต้องพัฒนากำลังคนควบคู่ไปด้วย” ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสวทช. ซึ่งกำกับและดูแลเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) กล่าว พร้อมอธิบายต่อว่า EECi พัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์อุตสาหกรรมมุ่งเป้าใน 3 กลุ่ม ได้แก่
1.ภาคการเกษตร: อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมโรงกลั่นชีวภาพ (Biorefinery)
2.โครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรม: ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ แบตเตอรีประสิทธิภาพสูง และการขนส่งสมัยใหม่
3.อุตสาหกรรมแห่งอนาคต: เครื่องมือแพทย์ การบิน และอวกาศ
นอกจาก EECi จะมุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มรองรับขยายผลงานวิจัยไปสู่อุตสาหกรรม ทั้งในรูปแบบโรงงานต้นแบบ สนามทดสอบ Testbed และ Sandbox ต่างๆ แล้ว ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมปัจจุบัน และการเตรียมกำลังคนอนาคตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยได้จัดตั้ง “RUNs Academy (Reskill-Upskill-New skill Academy)” เพื่อเพิ่มทักษะขั้นสูงและทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานสมัยใหม่ให้กับกำลังคนอุตสาหกรรมทั้งจาก SMEs และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญใน EECi เป็นเครือข่ายระบบนิเวศนวัตกรรม
รวมถึงการเตรียมคนในระยะยาวโดยนำความรู้เรื่องสเต็ม (STEM Education) แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์มาสนับสนุนการเรียนการสอนของเยาวชนและอาจารย์ในภาคตะวันออก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร EECi โดยเน้นเรื่องของวิศวกรรม
เช่นเดียวกันกับศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ SMC (Sustainable Manufacturing Center) ภายใต้การกำกับดูแลของเนคเทค สวทช. เป็นโครงการนำร่องของเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองนวัตกรรมของ EECi
ด้วยเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในยุคของ Post Covid เพื่อที่จะทำให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศเนี่ยเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด SMC จึงจัดตั้งขึ้นภายใต้การอนุมัติของครม.เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีไปยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เป็นสำคัญ
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. มองว่า “การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 นอกเหนือจากการนำเข้าเทคโนโลยีหรือว่าเครื่องมือเครื่องจักรต่างชาติ ผมเชื่อว่า SMC จะเป็นส่วนสำคัญที่เติมเต็มให้หลาย ๆ ส่วนสามารถใช้เทคโนโลยีภายในประเทศ และลดค่าใช้จ่ายต่างๆในการพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่จะให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ประเทศไทยยังขาดอยู่มาก”
โดย SMC มีเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรด้าน ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Automation robotics and intelligent) ตอบโจทย์ EECi โดยเน้นพัฒนาบุคลากรในทุกระดับตั้งแต่นิสิตนักศึกษาที่จะไปเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูง ในด้านของงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรในระดับอาชีวศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุตสาหกรรม โดย SMC ได้ร่วมมือพันธมิตรในการจัดตั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรทางด้านอาชีวศึกษา
Upskill แบบเพลินๆ (Play&Learn) กับการเผชิญโจทย์จริง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย เนคเทค สวทช. และพันธมิตรจัดการแข่งขัน IoT Hackathon Gen R เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้าน Industrial Internet of Things (IIoT) ให้กับบุคลากรอาชีวศึกษาในเขต EEC โดยการอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติแบบเข้มข้นสำหรับนักเรียนระดับ ปวส. และครูผู้สอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2564 นำมาสู่การแข่งขัน IoT Hackathon Gen R เพื่อวัดผลการอบรม เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมฯ ไปฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนสามารถทำได้ ทำเป็น ก่อนส่งผู้เรียนไปสู่การฝึกงาน
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมามีนักเรียนผ่านการอบรมของโครงการฯ กว่า 100 คน โดยมี 38 คนผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามเงื่อนไขและเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งหลังจบการแข่งขัน ทางโครงการฯ ได้สนับสนุนให้ได้ฝึกงานยังสถานประกอบการต่างๆ และจากการติดตามผล มากกว่า 50% ได้รับการตอบรับที่ดี และได้รับเข้าทำงานยังโรงงานต่อ ซึ่งถือเป็นที่น่าพอใจ
สำหรับกิจกรรม IoT Hackathon Gen R ในนี้ จัดขึ้นในธีม Data Analytics for Factory 4.0 ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลไอโอทีอุตสาหกรรม (IIoT) ที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้พบกับโจทย์จริง ข้อมูลจริง จากอุตสาหกรรมใน 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเริ่มต้นจากการนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์เพื่อตามหาประเภทอุตสาหกรรมที่ทีมได้รับ เพื่อใช้ข้อมูลนี้ไปออกแบบ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล พร้อมการนำเสนอในรูป แดชบอร์ด สำหรับการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะใน 6 ด้าน Production Monitoring, Quality Control, Power Management, Warehouse Management, Maintenance, Lean Manufacturing
ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับน้อง ๆ อาชีวศึกษาที่จะเชี่ยวชาญในด้านฮาร์ดแวร์มากกว่า ด้วยการเรียนรู้ด้านข้อมูลอุตสาหกรรมต้องเริ่มจากการทำความรู้จักความหมาย และการได้มาของข้อมูลผ่านตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งมีความซับซ้อน และต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์ในการทำความเข้าใจ ซึ่งน้อง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เรียนรู้ทฤษฎีที่สำคัญผ่านการอบรม “Basic Industrial IoT” ที่จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสอนให้รู้จักอุปกรณ์พื้นฐานในอุตสาหกรรม เช่น PLC HMI Sensor Protocol ที่ใช้สื่อสารในอุตสาหกรรม ไปจนถึงการสร้างแอปพลิเคชันสำหรับระบบ Industrial IoT เป็นต้น พร้อมติวเข้มอีกครั้งก่อนการแข่งขัน
“หลักสูตร” จุดเริ่มต้น IoT Hackathon Gen R
ก่อนการแข่งขัน IoT Hackathon Gen R ทั้ง 2 ปีที่ผ่านมานั้น น้อง ๆ จะได้รับการอบรมจากหลักสูตรไอโอทีที่ทีมนักวิจัยระบบไซเบอร์กายภาพ (CPS) ได้พัฒนาขึ้น คุณปิยวัฒน์ จอมสถาน นักวิจัยทีมวิจัยระบบไซเบอร์กายภาพ (CPS) และหัวหน้าโครงการฯ เล่าว่า ให้ข้อมูลว่า การดำเนินโครงการที่ผ่านมาได้พัฒนาหลักสูตรและจัดการอบรมให้กับนักศึกษาและอาจารย์ (Train The Trainer) สถาบันอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่ EEC หลายครั้ง พร้อมทั้งออกแบบพัฒนาชุดอุปกรณ์การเรียนการสอนจำนวน 3 ชุด เพื่อส่งให้ผู้เรียนได้ใช้ในการอบรมหลักสูตรอบรมต่างๆ [1] รายละเอียดดังนี้
-หลักสูตร Fundamental IoT: เรียนรู้พื้นฐานไอโอที ตั้งแต่เซนเซอร์ ประเภทสัญญาณอนาล็อก/ดิจิทัล การเขียนภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้งานอุปกรณ์ Microcontroler การเชื่อมต่อกับ IoT Platform เป็นต้น
-หลักสูตร Advance IoT: ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเซิฟเวอร์ การสร้างโครงสร้างของระบบไอโอที MQTT Server MQTT Protocal การเลือกใช้ Database ไปถึงการใช้งานแอปพลิเคชัน เช่น Dashboard การแจ้งเตือนผ่านไลน์ เป็นต้น
โดยทั้ง 2 หลักสูตรข้างต้น ใช้ชุด I-KIT เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน
-หลักสูตร Basic Industrial IoT: ศึกษาพื้นฐานไอโอทีด้านอุตสาหกรรม หลักการดึงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น PLC HMI หรือคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในอุตสาหกรรม ไปจนถึงองค์ประกอบใน Data ฺBase โดยใช้ชุด I2 – Starter Kit
“เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้น้อง ๆ ไม่พลาดโอกาสในการเรียนรู้ในสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งจากการศึกษาของโครงการ ถือเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย” คุณปิยวัฒน์ กล่าว
-หลักสูตร Advance Industrial IoT: เรียนรู้การสร้างแอปพลิเคชันไอโอทีอุตสาหกรรม โดยใช้ I2 – Kit เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วยโมดูลต่าง ๆ ได้แก่
-PLC Module: แอปพลิเคชันที่ทุกคนสามารถศึกษาได้ ไม่ว่าจะเป็นการจำลองไลน์การผลิตในโรงงาน การศึกษาเรื่อง Production line Line monitoring การสร้างสร้าง Production plan ที่เหมาะกับ Production line monitoring การทำ log temp log vibration ที่เหมาะกับงานต่างๆในอุตสาหกรรมจริง เป็นต้น โดยเลือกใช้ PLC Module 2 แบรนด์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย เพื่อให้ตอบโจทย์กับกลุ่มงานทุกรูปแบบที่นักศึกษาต้องเจอในอนาคต
-Gateway Module: สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลใน PLC สามารถส่งข้อมูลขึ้นระบบ Cloud และ Internet ได้
-ชุดตรวจวัดอุณหภูมิ: ใช้สำหรับศึกษาเรื่องการ Scaleling data ที่เป็นอนาล็อก ซึ่งปกติจะคุ้นเคยกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสัญญาณแบบสำเร็จรูป
-Predictive Maintenance Module: ศึกษาการทำงานของมอเตอร์ในเครื่องจักร ร่วมกับเซนเซอร์วัดการสั่น และอุณหภูมิ สำหรับสอนเรื่อง Predictive maintenance ไม่ว่าจะเป็น การสร้างโมเดล หลักการเก็บข้อมูลให้เหมาะกับการวิเคราะห์
-Expansion Module: โมดูลหรือเซ็นเซอร์ต่างๆที่สามารถพบได้กับอุตสาหกรรมเฉพาะและซับซ้อน เช่น Encoder ultrasonic Stepping Motor เป็นต้น
-Industrial Automation Machine: เปรียบเสมือนเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง โดยจะมีแปลนการประกอบ และ Part Number ที่อุปกรณ์ เราก็จะมีตัวแปลนว่าต้องประกอบอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนได้ประกอบเครื่องจักร เขียนโปรแกรม ไปจนถึงสร้างแอปพลิเคชัน
“ความตั้งใจที่ผมเข้ามาได้รับโอกาสในการเข้ามาทำงานตรงนี้ เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึง Advance ผมมีความตั้งใจที่สร้างหลักสูตรให้เป็นวิชาที่เด็กอาชีวะทั่วประเทศสามารถเรียนได้ โดยอาจารย์สามารถนำหลักสูตร เอกสารประกอบการต่าง ๆ ไปใช้สอนได้ทันที” คุณปิยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
EECi x ไทยพาณิชย์ พันธมิตรร่วมพัฒนากำลังคน ICT
การแข่งขันสุดเข้มข้นตลอด 36 ชั่วโมง จัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ รายล้อมด้วยหาดทรายและเสียงคลื่น ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จ.ชลบุรี โดยการสนับสนุนงบประมาณและสถานที่จัดการจาก มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ได้ผนึกกำลังกับเนคเทค สวทช.มาอย่างยาวนานในการพัฒนากำลังคนด้าน ICT ทั้งระดับอาชีวศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย และระดับสูงกว่าปริญญาตรี
คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ‘การพัฒนากำลังคน’ เป็นนโยบายของธนาคารไทยพาณิชย์ เราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยและมองว่าสังคมไทยจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน ต้องพัฒนากำลังคนโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ
ซึ่งการพัฒนากำลังคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม ผู้ใหญ่ในวงการศึกษาทุกระดับต้องตั้งคำถามและหาแนวทางในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง ได้ “เรียนรู้จากของจริงเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เรียนรู้จากโจทย์จริง” โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเยาวชนด้านไอที จึงถือเป็นกรอบงานและเป้าหมายเดียวกันกับทางมูลนิธิฯ ที่ต้องการจะสนับสนุนการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีสกิล ICT มากขึ้น นำมาสู่การสนับสนุนงบประมาณและสถานที่สำหรับจัดการการแข่งขันฯ
“สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้แพ้ ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่น้อง ๆ จะได้รับประสบการณ์ทำงานร่วมกัน ได้เรียนรู้ ลงมือแก้ปัญหาจากโจทย์ของภาคอุตสาหกรรม ได้ทดลองเจอกับสถานกรณ์การทำงานจริงก่อนถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นประสบการณ์มีความหมายและคุ้มค่า ถือว่าน้องๆชนะกันทุกคนทุกทีมแล้ว” คุณปิยาภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
สอดคล้องกับมุมมองของ ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสวทช. ซึ่งกำกับและดูแล เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ กล่าวว่า “เยาวชนอาชีวะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการผลิต เพราะฉะนั้นถ้าจะยกระดับภาคการผลิตของไทย ก็ต้องพัฒนาเยาวชนอาชีวศึกษาให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้ได้โดยง่าย ซึ่งน้องๆเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปทำงานกับโรงงานอุตสาหกรรม ช่วยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปทำงานร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป”
“Team Work” เสียงจากน้องๆ Gen R ถึงสิ่งที่ได้รับนอกจากการ UpSkill
การแข่งขันในครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 41 คน จาก 7 วิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี, วิทยาลัยเทคนิคพัทยา, วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ, วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์, วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง โดยแบ่งกลุ่มเป็น 3 คนต่อทีม
จากการสัมภาษณ์น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันถึงประสบการณ์ ความรู้สึกที่มีต่อการแข่งขันในครั้งนี้ นอกเหนือจากสาระความรู้ ทักษะที่ได้รับทั้งในด้าน IoTอุตสาหกรรมและการนำเสนอผลงานแล้ว น้อง ๆ ยังกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “เป็นการทำงานที่กดดัน ต่อเนื่อง และยาวนานครั้งแรกของพวกเขา”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ร่วมฝ่าฟันการแข่งขันตลอด 36 ชั่วโมงไม่ได้เป็นเพื่อนที่รู้จักกันมาก่อน ยิ่งทวีความกดดันเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม “Team Work คือ คีย์เวิร์ดที่น้อง ๆ ทุกทีมได้สะท้อนออกมา ในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ซึ่งเป็นซอฟต์สกิลในการทำงาน ที่ทุกคน ทุกสายอาชีพต้องมี
น้อง ๆ ทีม ทีม ALT + F4 เล่าว่า “เมื่อต้องเจอกับเพื่อนร่วมทีมที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน บ้างก็เป็นรุ่นพี่ รุ่นน้อง จึงต้องมีการปรับตัวเข้าหากัน พูดคุยสอบถามความถนัดของแต่ละคน เพื่อแบ่งหน้าที่การทำงานให้เหมาะสม” ซึ่งเมื่อถามในมุมมองของทีมจุดเด่นที่ทำให้ ALT + F4 คว้าชัยชนะไปครอง คืออะไร น้อง ๆ เห็นตอบตรงกันว่า ‘ความสามัคคี’
สำหรับทีมที่มีทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องมาร่วมงานกันอย่าง ทีม แอ๊ะแอ๋แม่จ๋า ที่เล่าว่าพวกเขาเดินเกมการแข่งขันแบบ “ชิว ๆ เรื่อย ๆ” โดยความสุขของพี่น้องในทีมต้องมาก่อน ค่อยๆก้าวไปเรื่อย ๆ ก้าวไปพร้อมกัน” แต่ก็สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ไปครอง
โดยน้อง ๆ ยังสะท้อนถึงหลักสูตรการอบรมว่า การศึกษาเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเองสามารถทำได้ แต่อาจจับทางไม่ถูกว่าต้องศึกษาจากจุดไหน ซึ่งเนคเทคได้ออกแบบหลักสูตรที่คนไม่รู้อะไรเลยสามารถเริ่มเรียน เริ่มจากศูนย์มาจนถึงจุดตรงนี้ สามารถทำได้แน่นอน
“เรื่องหลักสูตรนี้ก็ดีอยู่แล้ว แต่ที่ดีที่สุด คือทีมงานที่จัด และผู้สอน ที่สอนง่าย สนุกสนาน ไม่ทำให้เราเครียดมาก ถึงแม้ว่าจะเรียนออนไลน์แต่ก็พยายามเข้าเรียน เพราะพี่ ๆ เขาตั้งใจสอนเรา ให้ความรู้ฟรี ๆ เราก็ต้องตั้งใจ แต่การมาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะว่าความพยายามของทุกคน”
IoT Hackathon 2022 Gen R เป็นตัวอย่างกิจกรรมการพัฒนาเยาวชนด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้อง ๆ กลุ่มอาชีวศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในภาคการผลิตของไทยในอนาคต จากการเรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจากโจทย์จริง ทั้งในด้าน Hard Skill การประยุกต์ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม รวมถึง Soft Skill ในการทำงานร่วมกันเป็นทีมกับเพื่อนใหม่ การวางแผนการทำงานภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด ซึ่งจะเป็นทักษะสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป
บรรณานุกรม
[1] นิราวัลย์ ศรีชัย และ ขวัญชนก หาสุข. (2565). โครงการการพัฒนาทักษะด้าน Industrial Internet of Things (IIoT) แบบเข้มข้นสาหรับการพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษา
“การสร้างกำลังคนภาคอุตสาหกรรม” เป็นโจทย์สำคัญที่อีอีซี (EEC) หรือ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) มุ่งพัฒนาเพื่อรองรับการลงทุนของอุตสากรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่มีความต้องการบุคลากรกว่า 5 แสนคนในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนกลุ่มอาชีวศึกษา ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะต้องได้รับการอัปสกิล พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ให้เท่าทันเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยมี EECi หรือ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี
EECi x SMC ขับเคลื่อนนวัตกรรมคู่กำลังคน
“EECi ไม่ได้มุ่งพัฒนาเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมเท่านั้น แต่ต้องพัฒนากำลังคนควบคู่ไปด้วย” ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสวทช. ซึ่งกำกับและดูแลเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) กล่าว พร้อมอธิบายต่อว่า EECi พัฒนานวัตกรรมตอบโจทย์อุตสาหกรรมมุ่งเป้าใน 3 กลุ่ม ได้แก่
1.ภาคการเกษตร: อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่ และอุตสาหกรรมโรงกลั่นชีวภาพ (Biorefinery)
2.โครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรม: ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ แบตเตอรีประสิทธิภาพสูง และการขนส่งสมัยใหม่
3.อุตสาหกรรมแห่งอนาคต: เครื่องมือแพทย์ การบิน และอวกาศ
นอกจาก EECi จะมุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มรองรับขยายผลงานวิจัยไปสู่อุตสาหกรรม ทั้งในรูปแบบโรงงานต้นแบบ สนามทดสอบ Testbed และ Sandbox ต่างๆ แล้ว ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมปัจจุบัน และการเตรียมกำลังคนอนาคตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยได้จัดตั้ง “RUNs Academy (Reskill-Upskill-New skill Academy)” เพื่อเพิ่มทักษะขั้นสูงและทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานสมัยใหม่ให้กับกำลังคนอุตสาหกรรมทั้งจาก SMEs และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญใน EECi เป็นเครือข่ายระบบนิเวศนวัตกรรม
รวมถึงการเตรียมคนในระยะยาวโดยนำความรู้เรื่องสเต็ม (STEM Education) แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์มาสนับสนุนการเรียนการสอนของเยาวชนและอาจารย์ในภาคตะวันออก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร EECi โดยเน้นเรื่องของวิศวกรรม
เช่นเดียวกันกับศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน หรือ SMC (Sustainable Manufacturing Center) ภายใต้การกำกับดูแลของเนคเทค สวทช. เป็นโครงการนำร่องของเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เมืองนวัตกรรมของ EECi
ด้วยเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในยุคของ Post Covid เพื่อที่จะทำให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศเนี่ยเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด SMC จึงจัดตั้งขึ้นภายใต้การอนุมัติของครม.เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีไปยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เป็นสำคัญ
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. มองว่า “การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 นอกเหนือจากการนำเข้าเทคโนโลยีหรือว่าเครื่องมือเครื่องจักรต่างชาติ ผมเชื่อว่า SMC จะเป็นส่วนสำคัญที่เติมเต็มให้หลาย ๆ ส่วนสามารถใช้เทคโนโลยีภายในประเทศ และลดค่าใช้จ่ายต่างๆในการพัฒนายกระดับอุตสาหกรรมได้ นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่จะให้คำปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ประเทศไทยยังขาดอยู่มาก”
โดย SMC มีเป้าหมายการพัฒนาบุคลากรด้าน ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Automation robotics and intelligent) ตอบโจทย์ EECi โดยเน้นพัฒนาบุคลากรในทุกระดับตั้งแต่นิสิตนักศึกษาที่จะไปเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูง ในด้านของงานวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรในระดับอาชีวศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุตสาหกรรม โดย SMC ได้ร่วมมือพันธมิตรในการจัดตั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรทางด้านอาชีวศึกษา
Upskill แบบเพลินๆ (Play&Learn) กับการเผชิญโจทย์จริง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย เนคเทค สวทช. และพันธมิตรจัดการแข่งขัน IoT Hackathon Gen R เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาทักษะด้าน Industrial Internet of Things (IIoT) ให้กับบุคลากรอาชีวศึกษาในเขต EEC โดยการอบรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติแบบเข้มข้นสำหรับนักเรียนระดับ ปวส. และครูผู้สอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2564 นำมาสู่การแข่งขัน IoT Hackathon Gen R เพื่อวัดผลการอบรม เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้จากการอบรมฯ ไปฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนสามารถทำได้ ทำเป็น ก่อนส่งผู้เรียนไปสู่การฝึกงาน
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมามีนักเรียนผ่านการอบรมของโครงการฯ กว่า 100 คน โดยมี 38 คนผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามเงื่อนไขและเข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งหลังจบการแข่งขัน ทางโครงการฯ ได้สนับสนุนให้ได้ฝึกงานยังสถานประกอบการต่างๆ และจากการติดตามผล มากกว่า 50% ได้รับการตอบรับที่ดี และได้รับเข้าทำงานยังโรงงานต่อ ซึ่งถือเป็นที่น่าพอใจ
สำหรับกิจกรรม IoT Hackathon Gen R ในนี้ จัดขึ้นในธีม Data Analytics for Factory 4.0 ที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลไอโอทีอุตสาหกรรม (IIoT) ที่ผู้เข้าแข่งขันจะได้พบกับโจทย์จริง ข้อมูลจริง จากอุตสาหกรรมใน 3 กลุ่ม ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเริ่มต้นจากการนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์เพื่อตามหาประเภทอุตสาหกรรมที่ทีมได้รับ เพื่อใช้ข้อมูลนี้ไปออกแบบ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล พร้อมการนำเสนอในรูป แดชบอร์ด สำหรับการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะใน 6 ด้าน Production Monitoring, Quality Control, Power Management, Warehouse Management, Maintenance, Lean Manufacturing
ซึ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับน้อง ๆ อาชีวศึกษาที่จะเชี่ยวชาญในด้านฮาร์ดแวร์มากกว่า ด้วยการเรียนรู้ด้านข้อมูลอุตสาหกรรมต้องเริ่มจากการทำความรู้จักความหมาย และการได้มาของข้อมูลผ่านตัวแปรต่าง ๆ ซึ่งมีความซับซ้อน และต้องอาศัยระยะเวลาและประสบการณ์ในการทำความเข้าใจ ซึ่งน้อง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เรียนรู้ทฤษฎีที่สำคัญผ่านการอบรม “Basic Industrial IoT” ที่จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสอนให้รู้จักอุปกรณ์พื้นฐานในอุตสาหกรรม เช่น PLC HMI Sensor Protocol ที่ใช้สื่อสารในอุตสาหกรรม ไปจนถึงการสร้างแอปพลิเคชันสำหรับระบบ Industrial IoT เป็นต้น พร้อมติวเข้มอีกครั้งก่อนการแข่งขัน
“หลักสูตร” จุดเริ่มต้น IoT Hackathon Gen R
ก่อนการแข่งขัน IoT Hackathon Gen R ทั้ง 2 ปีที่ผ่านมานั้น น้อง ๆ จะได้รับการอบรมจากหลักสูตรไอโอทีที่ทีมนักวิจัยระบบไซเบอร์กายภาพ (CPS) ได้พัฒนาขึ้น คุณปิยวัฒน์ จอมสถาน นักวิจัยทีมวิจัยระบบไซเบอร์กายภาพ (CPS) และหัวหน้าโครงการฯ เล่าว่า ให้ข้อมูลว่า การดำเนินโครงการที่ผ่านมาได้พัฒนาหลักสูตรและจัดการอบรมให้กับนักศึกษาและอาจารย์ (Train The Trainer) สถาบันอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่ EEC หลายครั้ง พร้อมทั้งออกแบบพัฒนาชุดอุปกรณ์การเรียนการสอนจำนวน 3 ชุด เพื่อส่งให้ผู้เรียนได้ใช้ในการอบรมหลักสูตรอบรมต่างๆ [1] รายละเอียดดังนี้
-หลักสูตร Fundamental IoT: เรียนรู้พื้นฐานไอโอที ตั้งแต่เซนเซอร์ ประเภทสัญญาณอนาล็อก/ดิจิทัล การเขียนภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การใช้งานอุปกรณ์ Microcontroler การเชื่อมต่อกับ IoT Platform เป็นต้น
-หลักสูตร Advance IoT: ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเซิฟเวอร์ การสร้างโครงสร้างของระบบไอโอที MQTT Server MQTT Protocal การเลือกใช้ Database ไปถึงการใช้งานแอปพลิเคชัน เช่น Dashboard การแจ้งเตือนผ่านไลน์ เป็นต้น
โดยทั้ง 2 หลักสูตรข้างต้น ใช้ชุด I-KIT เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอน
-หลักสูตร Basic Industrial IoT: ศึกษาพื้นฐานไอโอทีด้านอุตสาหกรรม หลักการดึงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น PLC HMI หรือคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในอุตสาหกรรม ไปจนถึงองค์ประกอบใน Data ฺBase โดยใช้ชุด I2 – Starter Kit
“เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้น้อง ๆ ไม่พลาดโอกาสในการเรียนรู้ในสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งจากการศึกษาของโครงการ ถือเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย” คุณปิยวัฒน์ กล่าว
-หลักสูตร Advance Industrial IoT: เรียนรู้การสร้างแอปพลิเคชันไอโอทีอุตสาหกรรม โดยใช้ I2 – Kit เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วยโมดูลต่าง ๆ ได้แก่
-PLC Module: แอปพลิเคชันที่ทุกคนสามารถศึกษาได้ ไม่ว่าจะเป็นการจำลองไลน์การผลิตในโรงงาน การศึกษาเรื่อง Production line Line monitoring การสร้างสร้าง Production plan ที่เหมาะกับ Production line monitoring การทำ log temp log vibration ที่เหมาะกับงานต่างๆในอุตสาหกรรมจริง เป็นต้น โดยเลือกใช้ PLC Module 2 แบรนด์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย เพื่อให้ตอบโจทย์กับกลุ่มงานทุกรูปแบบที่นักศึกษาต้องเจอในอนาคต
-Gateway Module: สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลใน PLC สามารถส่งข้อมูลขึ้นระบบ Cloud และ Internet ได้
-ชุดตรวจวัดอุณหภูมิ: ใช้สำหรับศึกษาเรื่องการ Scaleling data ที่เป็นอนาล็อก ซึ่งปกติจะคุ้นเคยกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสัญญาณแบบสำเร็จรูป
-Predictive Maintenance Module: ศึกษาการทำงานของมอเตอร์ในเครื่องจักร ร่วมกับเซนเซอร์วัดการสั่น และอุณหภูมิ สำหรับสอนเรื่อง Predictive maintenance ไม่ว่าจะเป็น การสร้างโมเดล หลักการเก็บข้อมูลให้เหมาะกับการวิเคราะห์
-Expansion Module: โมดูลหรือเซ็นเซอร์ต่างๆที่สามารถพบได้กับอุตสาหกรรมเฉพาะและซับซ้อน เช่น Encoder ultrasonic Stepping Motor เป็นต้น
-Industrial Automation Machine: เปรียบเสมือนเครื่องจักรเครื่องหนึ่ง โดยจะมีแปลนการประกอบ และ Part Number ที่อุปกรณ์ เราก็จะมีตัวแปลนว่าต้องประกอบอย่างไร เพื่อให้ผู้เรียนได้ประกอบเครื่องจักร เขียนโปรแกรม ไปจนถึงสร้างแอปพลิเคชัน
“ความตั้งใจที่ผมเข้ามาได้รับโอกาสในการเข้ามาทำงานตรงนี้ เริ่มจากการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึง Advance ผมมีความตั้งใจที่สร้างหลักสูตรให้เป็นวิชาที่เด็กอาชีวะทั่วประเทศสามารถเรียนได้ โดยอาจารย์สามารถนำหลักสูตร เอกสารประกอบการต่าง ๆ ไปใช้สอนได้ทันที” คุณปิยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย
EECi x ไทยพาณิชย์ พันธมิตรร่วมพัฒนากำลังคน ICT
การแข่งขันสุดเข้มข้นตลอด 36 ชั่วโมง จัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ รายล้อมด้วยหาดทรายและเสียงคลื่น ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน จ.ชลบุรี โดยการสนับสนุนงบประมาณและสถานที่จัดการจาก มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ได้ผนึกกำลังกับเนคเทค สวทช.มาอย่างยาวนานในการพัฒนากำลังคนด้าน ICT ทั้งระดับอาชีวศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย และระดับสูงกว่าปริญญาตรี
คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ‘การพัฒนากำลังคน’ เป็นนโยบายของธนาคารไทยพาณิชย์ เราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยและมองว่าสังคมไทยจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน ต้องพัฒนากำลังคนโดยเฉพาะเยาวชนของชาติ
ซึ่งการพัฒนากำลังคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะด้านใดก็ตาม ผู้ใหญ่ในวงการศึกษาทุกระดับต้องตั้งคำถามและหาแนวทางในการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง ได้ “เรียนรู้จากของจริงเรียนรู้จากสถานการณ์จริง เรียนรู้จากโจทย์จริง” โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเยาวชนด้านไอที จึงถือเป็นกรอบงานและเป้าหมายเดียวกันกับทางมูลนิธิฯ ที่ต้องการจะสนับสนุนการพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้มีสกิล ICT มากขึ้น นำมาสู่การสนับสนุนงบประมาณและสถานที่สำหรับจัดการการแข่งขันฯ
“สำหรับการแข่งขันในครั้งนี้แพ้ ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่น้อง ๆ จะได้รับประสบการณ์ทำงานร่วมกัน ได้เรียนรู้ ลงมือแก้ปัญหาจากโจทย์ของภาคอุตสาหกรรม ได้ทดลองเจอกับสถานกรณ์การทำงานจริงก่อนถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นประสบการณ์มีความหมายและคุ้มค่า ถือว่าน้องๆชนะกันทุกคนทุกทีมแล้ว” คุณปิยาภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
สอดคล้องกับมุมมองของ ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา รองผู้อำนวยการสวทช. ซึ่งกำกับและดูแล เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ที่ได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ กล่าวว่า “เยาวชนอาชีวะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการผลิต เพราะฉะนั้นถ้าจะยกระดับภาคการผลิตของไทย ก็ต้องพัฒนาเยาวชนอาชีวศึกษาให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้ได้โดยง่าย ซึ่งน้องๆเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปทำงานกับโรงงานอุตสาหกรรม ช่วยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปทำงานร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป”
“Team Work” เสียงจากน้องๆ Gen R ถึงสิ่งที่ได้รับนอกจากการ UpSkill
การแข่งขันในครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งสิ้น 41 คน จาก 7 วิทยาลัย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี, วิทยาลัยเทคนิคพัทยา, วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ, วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์, วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย และวิทยาลัยสารพัดช่างระยอง โดยแบ่งกลุ่มเป็น 3 คนต่อทีม
จากการสัมภาษณ์น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันถึงประสบการณ์ ความรู้สึกที่มีต่อการแข่งขันในครั้งนี้ นอกเหนือจากสาระความรู้ ทักษะที่ได้รับทั้งในด้าน IoTอุตสาหกรรมและการนำเสนอผลงานแล้ว น้อง ๆ ยังกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “เป็นการทำงานที่กดดัน ต่อเนื่อง และยาวนานครั้งแรกของพวกเขา”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ร่วมฝ่าฟันการแข่งขันตลอด 36 ชั่วโมงไม่ได้เป็นเพื่อนที่รู้จักกันมาก่อน ยิ่งทวีความกดดันเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม “Team Work คือ คีย์เวิร์ดที่น้อง ๆ ทุกทีมได้สะท้อนออกมา ในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ ซึ่งเป็นซอฟต์สกิลในการทำงาน ที่ทุกคน ทุกสายอาชีพต้องมี
น้อง ๆ ทีม ทีม ALT + F4 เล่าว่า “เมื่อต้องเจอกับเพื่อนร่วมทีมที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน บ้างก็เป็นรุ่นพี่ รุ่นน้อง จึงต้องมีการปรับตัวเข้าหากัน พูดคุยสอบถามความถนัดของแต่ละคน เพื่อแบ่งหน้าที่การทำงานให้เหมาะสม” ซึ่งเมื่อถามในมุมมองของทีมจุดเด่นที่ทำให้ ALT + F4 คว้าชัยชนะไปครอง คืออะไร น้อง ๆ เห็นตอบตรงกันว่า ‘ความสามัคคี’
สำหรับทีมที่มีทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องมาร่วมงานกันอย่าง ทีม แอ๊ะแอ๋แม่จ๋า ที่เล่าว่าพวกเขาเดินเกมการแข่งขันแบบ “ชิว ๆ เรื่อย ๆ” โดยความสุขของพี่น้องในทีมต้องมาก่อน ค่อยๆก้าวไปเรื่อย ๆ ก้าวไปพร้อมกัน” แต่ก็สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ไปครอง
โดยน้อง ๆ ยังสะท้อนถึงหลักสูตรการอบรมว่า การศึกษาเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเองสามารถทำได้ แต่อาจจับทางไม่ถูกว่าต้องศึกษาจากจุดไหน ซึ่งเนคเทคได้ออกแบบหลักสูตรที่คนไม่รู้อะไรเลยสามารถเริ่มเรียน เริ่มจากศูนย์มาจนถึงจุดตรงนี้ สามารถทำได้แน่นอน
“เรื่องหลักสูตรนี้ก็ดีอยู่แล้ว แต่ที่ดีที่สุด คือทีมงานที่จัด และผู้สอน ที่สอนง่าย สนุกสนาน ไม่ทำให้เราเครียดมาก ถึงแม้ว่าจะเรียนออนไลน์แต่ก็พยายามเข้าเรียน เพราะพี่ ๆ เขาตั้งใจสอนเรา ให้ความรู้ฟรี ๆ เราก็ต้องตั้งใจ แต่การมาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะว่าความพยายามของทุกคน”
IoT Hackathon 2022 Gen R เป็นตัวอย่างกิจกรรมการพัฒนาเยาวชนด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้อง ๆ กลุ่มอาชีวศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในภาคการผลิตของไทยในอนาคต จากการเรียนรู้และได้ลงมือปฏิบัติจากโจทย์จริง ทั้งในด้าน Hard Skill การประยุกต์ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม รวมถึง Soft Skill ในการทำงานร่วมกันเป็นทีมกับเพื่อนใหม่ การวางแผนการทำงานภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด ซึ่งจะเป็นทักษะสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่อไป
บรรณานุกรม
[1] นิราวัลย์ ศรีชัย และ ขวัญชนก หาสุข. (2565). โครงการการพัฒนาทักษะด้าน Industrial Internet of Things (IIoT) แบบเข้มข้นสาหรับการพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษา
• วันที่เผยแพร่ผลงาน :
27 เมษายน 2565
• Keyword :
CPS, Hackathon, iiot hackathon 2022, IoT Hackathon
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
ส่องโมเดล ! ‘ปั้นคนอาชีวะ’ เสิร์ฟอุตสาหกรรมใน EEC ด้วยหลักสูตรไอโอทีพร้อมเวทีฝึกฝีมือแบบมาราธอน

• ชื่อเจ้าของข้อมูล :
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• สาขา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
อื่น
• Keyword :
วันที่เผยแพร่: 27 เมษายน 2565
|
ผู้เยี่ยมชม: 79
องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข
าแพทย์อายุรก
csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf