ข้อมูลบริการด้านนวัตกรรม-
• รายละเอียดของบริการ
-แพลตฟอร์ม IDA – แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม
-เทคโนโลยีในแพลตฟอร์ม IDA
-การประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์ม IDA
-แพลตฟอร์ม IDA กับการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ และสถานประกอบการอุตสาหกรรม
-การร่วมโครงการกับแพลตฟอร์ม IDA
-บูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0
-ร่วมโครงการแพลตฟอร์ม IDA
การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจและสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทำให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวเพื่อผ่านพ้น Digital Disruption โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก แต่กลับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้ทุก ๆ บริบทของสังคมก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่นเดียวกันกับภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยเร็วที่สุดเพื่อข้ามผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้

…แต่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถประยุกต์ใช้อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดและเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมเพื่อผลักดันวงการอุตสาหกรรมในประเทศสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านนโยบายและโครงการต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้น คือ การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ภายในเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ภายใต้เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อสนับสนุนการขยายผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยสู่การใช้ประโยชน์ และลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศพร้อมผลักดันภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 โดยพัฒนาโครงการนำร่อง คือ

แพลตฟอร์ม IDA – แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (Industrial IoT and Data Analytics Platform)

แพลตฟอร์ม IDA – แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม

แพลตฟอร์ม IDA หรือ แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (Industrial IoT and Data Analytics Platform: IDA Platform) นับเป็นหนึ่งโครงการนำร่องสำคัญภายใต้ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) จากความร่วมมือระหว่าง ARIPOLIS-SMC สวทช. และพันธมิตรรัฐร่วมเอกชน

โดยเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) ตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ จากเครื่องจักรในกระบวนการผลิต สู่การวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูล ทำให้ทราบสถานภาพของเครื่องจักร นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน และตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วนต่อการปรับตัวของ SME ในภาคการผลิต รวมทั้งสอดรับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านภายหลังจากโควิด-19

สำหรับระยะนำร่อง แพลตฟอร์ม IDA ตั้งเป้าเริ่มดำเนินการเรื่องการตรวจสอบการใช้พลังงาน (Energy Monitoring) เป็นลำดับแรก โดยการรวบรวมและแสดงผลข้อมูลการใช้พลังงานของเครื่องจักรในโรงงานแบบ Real Time นอกจากนี้แพลตฟอร์ม IDA ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในระดับมหภาคเพื่อใช้วางแผนการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้อย่างแม่นยำ พร้อมรองรับการบริหารจัดการพลังงานตามความต้องการของแต่ละช่วงเวลา (Demand Response) ในอนาคต ก่อนขยายผลสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตต่อไป


เทคโนโลยีในแพลตฟอร์ม IDA
เนคเทค-สวทช. ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0 หลายผลงาน สำหรับเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม IDA นั้น ได้แก่

[1] uRTU (Universal Remote Terminal Unit) หรือ หน่วยตรวจวัดระยะไกลยูนิเวอร์แซล

โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบต้นทุนรวมถึงภาพรวมด้านการใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานให้คุ้มค่าสูงสุด

[2] NETPIE (Network Platform for Internet of Everything) หรือ แพลตฟอร์มสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง

โดยเนคเทคและทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) สวทช. โดย “NETPIE 2020” แพลตฟอร์ม IoT สัญชาติไทยเวอร์ชันใหม่ล่าสุด ด้วยคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้น เพื่อลดภาระและตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้าน IoT โดยเฉพาะ ช่วยให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือระบบ IoT ใด ๆ ก็ตามเป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ การพัฒนาระบบเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ ไปจนถึงการดูแลรักษา ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ


การประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์ม IDA
แพลตฟอร์ม IDA เป็นแพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตสู่การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) อย่างอิสระ ดังนั้น แพลตฟอร์ม IDA จึงสามารถประยุกต์ใช้งานครอบคลุมได้หลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น

[1] การตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานในโรงงาน (Energy Monitoring)
โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบต้นทุนรวมถึงภาพรวมด้านการใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานให้คุ้มค่าสูงสุด
[2] การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต หรือ Overall Equipment Effectiveness (OEE)
โดยการเชื่อมโยงข้อมูลพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของเครื่องจักรเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมที่บ่งบอกความพร้อมของเครื่องจักรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประสิทธิภาพการผลิต นำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างตรงจุดเพื่อเพิ่ม Productivity แก่โรงงานอุตสาหกรรม
[3] การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)
โดยการเชื่อมโยงข้อมูลพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของเครื่องจักรมาวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ถึงความเป็นไปได้ที่เครื่องจักรจะเกิดอาการเสียหายในอนาคต ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการซ่อมบำรุงได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน

แพลตฟอร์ม IDA กับการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ และสถานประกอบการอุตสาหกรรม
[1] ประเทศไทย
IDA Platform จะรวบรวมและแสดงผลข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานแบบ Real-time ช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในประเทศเห็นภาพรวมการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย และสามารถนำข้อมูล Industrial Big Data นี้ไปใช้วางแผนการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
[2] เศรษฐกิจ
IDA Platform จะเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทานและเกิดมูลค่าการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการจากงานวิจัยไทย
[3] สถานประกอบการ
การตรวจจับการใช้พลังงานในระดับเครื่องจักรแบบ Real-time ช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและบริหารจัดการพลังงานในสถานประกอบการของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมต่อยอดไปสู่การวัดประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE) และการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) ต่อไป

การร่วมโครงการกับแพลตฟอร์ม IDA
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการแพลตฟอร์ม IDA ภายในงาน Open House

โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกอบด้วย
[1] การประเมินระดับความพร้อมในการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0
ด้วยดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (Smart Industry Readiness Index: SIRI) และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
[2] การติดตั้งและใช้งานแพลตฟอร์ม IDA (ด้านการตรวจสอบและจัดการการใช้พลังงาน)
ประกอบด้วย เซนเซอร์ตรวจจับสัญญาณต่อเชื่อมผ่านอุปกรณ์ Universal Remote Terminal Unit (uRTU) ส่งข้อมูลสัญญาณต่างๆ ขึ้น NETPIE แพลตฟอร์ม IoT โดยข้อมูลจะถูกนำไปแสดงให้เห็นบน Dashboard เพื่อแสดงสุขภาพของเครื่องจักร
นอกจากนี้โครงการ ฯ จะจัดทำความตกลงเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับอย่างชัดเจน พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security และ IoT Security) จากนักวิจัยเนคเทค – สวทช. และพันธมิตรที่ร่วมในโครงการฯ อีกด้วย

โดยโครงการฯ มีเป้าหมายขยายผลสู่ 500 โรงงานในระยะ 3 ปี สำหรับในปี 2563 นี้จะมีการติดตั้งแพลตฟอร์ม IDA ในโรงงานอุตสาหกรรมนำร่องขนาดเล็กและกลาง จำนวน 10 – 15 โรงงาน ประกอบไปด้วยโรงงานในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและยา อุปโภคบริโภค อิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น โดยเป็นการร่วมทดสอบระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ในแพลตฟอร์ม IDA ในการเชื่อมต่อกับผู้ผลิตเทคโนโลยีชั้นจากต่างประเทศ

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตในระดับหนึ่งแล้วและมีความต้องการเทคโนโลยีขั้นกว่า (Advanced) ทีมวิจัยและวิศวกรรมของโครงการฯ ยินดีร่วมปรึกษากับโรงงานเพื่อรับโจทย์ ศึกษา และออกแบบระบบร่วมกันต่อไป


บูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0
แพลตฟอร์ม IDA สร้างขึ้นโดยมีหมุดหมายเพื่อพัฒนาไทยสู่ Industry 4.0 โดยผสานพลังบูรณาการองค์ความรู้ทั้งจากหน่วยงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมโดย สวทช. รวมถึงความร่วมมือจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพลังงาน ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนทั้งที่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีรายใหญ่ในวงการอุตสาหกรรม 4.0 ของโลกและบริษัทเอกชนไทยมาร่วมทำงานด้วยกันเพื่อส่งมอบเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้แก่ผู้ประกอบการ SME ไทย รวมทั้งสิ้น 8 บริษัท ประกอบไปด้วย
-บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
-บริษัท ซีเมนส์อินดัสเทรียลเซอร์วิสเซส จำกัด
-บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค แฟคตอรี ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
-บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด
-บริษัท เน็กซ์พาย จำกัด
-บริษัท พาโลอัลโต้ เน็ตเวิร์ค ประเทศไทย และอินโดจีน
-บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิกส์ จำกัด
-และ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล
โดยแต่ละรายจะสนับสนุนการทดลองใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบการใช้งานจริงในโรงงานนำร่อง ร่วมแบ่งปันองค์ความรู้เพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนากำลังคนและบุคลากรด้านอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ

จากความร่วมมือของพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งช่วยสถานประกอบการ โรงงาน บริษัท รวมถึง SME สามารถยกระดับความสามารถสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตลอดจนให้ประเทศไทยมี Big Data ข้อมูลสถานภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยในระดับมหภาคที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายระดับชาติได้อีกด้วย ส่งผลให้นโยบาย Thailand 4.0 เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และประเทศไทยเติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ร่วมโครงการแพลตฟอร์ม IDA
ดร. รวีภัทร์ ผุดผ่อง
ฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมใหม่
เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) สวทช.
โทร. 08 1720 1980, 0 2117 8304, 0 2117 8311, 0 2117 8314
E-mail: ravipat.phu@nstda.or.th
ดร. พรพรหม อธีตนันท์
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)
โทร. 08 6600 0723, 02 564 6900 ต่อ 2347, 2358, 2383
E-mail: business@nectec.or.th

บทความที่เกี่ยวข้อง
เนคเทค สวทช. จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน และ System Integrators โครงการแพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (IDA Platform)
เนคเทค สวทช. จัดการประชุม “โรงงานนำร่อง” โครงการแพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม
ประกาศผล โรงงานที่ได้รับการคัดเลือก ร่วมโครงการ IDA พลังงาน
Smart Factory IoT Challenge 2020 ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ตอบโจทย์ Industry 4.0
ห้ามพลาด ! Your Digital Life Podcast EP.4 | IDA Platform กับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในวิกฤต COVID-19
• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• Keyword :
IDA Platform, IDA, EECi
ข้อมูลการติดต่อและสถานที่+
รายละเอียดเจ้าของข้อมูล+
IDA Platform | แพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (Industrial IoT and Data Analytics Platform)

-แพลตฟอร์ม IDA – แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม
-เทคโนโลยีในแพลตฟอร์ม IDA
-การประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์ม IDA
-แพลตฟอร์ม IDA กับการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ และสถานประกอบการอุตสาหกรรม
-การร่วมโครงการกับแพลตฟอร์ม IDA
-บูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0
-ร่วมโครงการแพลตฟอร์ม IDA
การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจและสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ทำให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวเพื่อผ่านพ้น Digital Disruption โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก แต่กลับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้ทุก ๆ บริบทของสังคมก้าวสู่โลกแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่นเดียวกันกับภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยเร็วที่สุดเพื่อข้ามผ่านวิกฤตนี้ไปให้ได้

…แต่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถประยุกต์ใช้อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดและเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมเพื่อผลักดันวงการอุตสาหกรรมในประเทศสู่อุตสาหกรรม 4.0 ผ่านนโยบายและโครงการต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้น คือ การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center: SMC) โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ภายในเมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ภายใต้เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เพื่อสนับสนุนการขยายผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของไทยสู่การใช้ประโยชน์ และลดช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศพร้อมผลักดันภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 โดยพัฒนาโครงการนำร่อง คือ

แพลตฟอร์ม IDA – แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (Industrial IoT and Data Analytics Platform)

แพลตฟอร์ม IDA – แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม

แพลตฟอร์ม IDA หรือ แพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (Industrial IoT and Data Analytics Platform: IDA Platform) นับเป็นหนึ่งโครงการนำร่องสำคัญภายใต้ศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (SMC) จากความร่วมมือระหว่าง ARIPOLIS-SMC สวทช. และพันธมิตรรัฐร่วมเอกชน

โดยเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) ตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ จากเครื่องจักรในกระบวนการผลิต สู่การวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูล ทำให้ทราบสถานภาพของเครื่องจักร นำไปสู่การบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและอนุรักษ์พลังงาน และตอบสนองความจำเป็นเร่งด่วนต่อการปรับตัวของ SME ในภาคการผลิต รวมทั้งสอดรับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านภายหลังจากโควิด-19

สำหรับระยะนำร่อง แพลตฟอร์ม IDA ตั้งเป้าเริ่มดำเนินการเรื่องการตรวจสอบการใช้พลังงาน (Energy Monitoring) เป็นลำดับแรก โดยการรวบรวมและแสดงผลข้อมูลการใช้พลังงานของเครื่องจักรในโรงงานแบบ Real Time นอกจากนี้แพลตฟอร์ม IDA ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในระดับมหภาคเพื่อใช้วางแผนการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้อย่างแม่นยำ พร้อมรองรับการบริหารจัดการพลังงานตามความต้องการของแต่ละช่วงเวลา (Demand Response) ในอนาคต ก่อนขยายผลสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตต่อไป


เทคโนโลยีในแพลตฟอร์ม IDA
เนคเทค-สวทช. ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0 หลายผลงาน สำหรับเทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม IDA นั้น ได้แก่

[1] uRTU (Universal Remote Terminal Unit) หรือ หน่วยตรวจวัดระยะไกลยูนิเวอร์แซล

โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบต้นทุนรวมถึงภาพรวมด้านการใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานให้คุ้มค่าสูงสุด

[2] NETPIE (Network Platform for Internet of Everything) หรือ แพลตฟอร์มสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อทุกสรรพสิ่ง

โดยเนคเทคและทีมระบบไซเบอร์-กายภาพ (CPS) สวทช. โดย “NETPIE 2020” แพลตฟอร์ม IoT สัญชาติไทยเวอร์ชันใหม่ล่าสุด ด้วยคุณสมบัติที่พัฒนาขึ้น เพื่อลดภาระและตอบโจทย์ผู้ใช้งานด้าน IoT โดยเฉพาะ ช่วยให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือระบบ IoT ใด ๆ ก็ตามเป็นเรื่องง่าย ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างต้นแบบ การพัฒนาระบบเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์ ไปจนถึงการดูแลรักษา ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ


การประยุกต์ใช้งานแพลตฟอร์ม IDA
แพลตฟอร์ม IDA เป็นแพลตฟอร์ม IoT และระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงข้อมูลจากเครื่องจักรการผลิตสู่การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) อย่างอิสระ ดังนั้น แพลตฟอร์ม IDA จึงสามารถประยุกต์ใช้งานครอบคลุมได้หลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น

[1] การตรวจวัดปริมาณการใช้พลังงานในโรงงาน (Energy Monitoring)
โดยการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบต้นทุนรวมถึงภาพรวมด้านการใช้พลังงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโรงงานให้คุ้มค่าสูงสุด
[2] การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต หรือ Overall Equipment Effectiveness (OEE)
โดยการเชื่อมโยงข้อมูลพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของเครื่องจักรเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิผลโดยรวมที่บ่งบอกความพร้อมของเครื่องจักรซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของประสิทธิภาพการผลิต นำไปสู่การแก้ไข ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างตรงจุดเพื่อเพิ่ม Productivity แก่โรงงานอุตสาหกรรม
[3] การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance)
โดยการเชื่อมโยงข้อมูลพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของเครื่องจักรมาวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง ถึงความเป็นไปได้ที่เครื่องจักรจะเกิดอาการเสียหายในอนาคต ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการซ่อมบำรุงได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงาน

แพลตฟอร์ม IDA กับการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ และสถานประกอบการอุตสาหกรรม
[1] ประเทศไทย
IDA Platform จะรวบรวมและแสดงผลข้อมูลการใช้พลังงานของโรงงานแบบ Real-time ช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในประเทศเห็นภาพรวมการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศไทย และสามารถนำข้อมูล Industrial Big Data นี้ไปใช้วางแผนการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
[2] เศรษฐกิจ
IDA Platform จะเป็นหนึ่งฟันเฟืองในการส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมที่จะมีผลต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ประกอบการให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทานและเกิดมูลค่าการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการจากงานวิจัยไทย
[3] สถานประกอบการ
การตรวจจับการใช้พลังงานในระดับเครื่องจักรแบบ Real-time ช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจในการวางแผนและบริหารจัดการพลังงานในสถานประกอบการของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมต่อยอดไปสู่การวัดประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE) และการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) ต่อไป

การร่วมโครงการกับแพลตฟอร์ม IDA
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เปิดให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการแพลตฟอร์ม IDA ภายในงาน Open House

โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกอบด้วย
[1] การประเมินระดับความพร้อมในการก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0
ด้วยดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (Smart Industry Readiness Index: SIRI) และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
[2] การติดตั้งและใช้งานแพลตฟอร์ม IDA (ด้านการตรวจสอบและจัดการการใช้พลังงาน)
ประกอบด้วย เซนเซอร์ตรวจจับสัญญาณต่อเชื่อมผ่านอุปกรณ์ Universal Remote Terminal Unit (uRTU) ส่งข้อมูลสัญญาณต่างๆ ขึ้น NETPIE แพลตฟอร์ม IoT โดยข้อมูลจะถูกนำไปแสดงให้เห็นบน Dashboard เพื่อแสดงสุขภาพของเครื่องจักร
นอกจากนี้โครงการ ฯ จะจัดทำความตกลงเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับอย่างชัดเจน พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Information Security และ IoT Security) จากนักวิจัยเนคเทค – สวทช. และพันธมิตรที่ร่วมในโครงการฯ อีกด้วย

โดยโครงการฯ มีเป้าหมายขยายผลสู่ 500 โรงงานในระยะ 3 ปี สำหรับในปี 2563 นี้จะมีการติดตั้งแพลตฟอร์ม IDA ในโรงงานอุตสาหกรรมนำร่องขนาดเล็กและกลาง จำนวน 10 – 15 โรงงาน ประกอบไปด้วยโรงงานในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและยา อุปโภคบริโภค อิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น โดยเป็นการร่วมทดสอบระบบและอุปกรณ์ที่ใช้ในแพลตฟอร์ม IDA ในการเชื่อมต่อกับผู้ผลิตเทคโนโลยีชั้นจากต่างประเทศ

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตในระดับหนึ่งแล้วและมีความต้องการเทคโนโลยีขั้นกว่า (Advanced) ทีมวิจัยและวิศวกรรมของโครงการฯ ยินดีร่วมปรึกษากับโรงงานเพื่อรับโจทย์ ศึกษา และออกแบบระบบร่วมกันต่อไป


บูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0
แพลตฟอร์ม IDA สร้างขึ้นโดยมีหมุดหมายเพื่อพัฒนาไทยสู่ Industry 4.0 โดยผสานพลังบูรณาการองค์ความรู้ทั้งจากหน่วยงานวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมโดย สวทช. รวมถึงความร่วมมือจากภาครัฐไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพลังงาน ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชนทั้งที่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีรายใหญ่ในวงการอุตสาหกรรม 4.0 ของโลกและบริษัทเอกชนไทยมาร่วมทำงานด้วยกันเพื่อส่งมอบเทคโนโลยีที่เข้าถึงได้แก่ผู้ประกอบการ SME ไทย รวมทั้งสิ้น 8 บริษัท ประกอบไปด้วย
-บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด
-บริษัท ซีเมนส์อินดัสเทรียลเซอร์วิสเซส จำกัด
-บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็คทริค แฟคตอรี ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
-บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด
-บริษัท เน็กซ์พาย จำกัด
-บริษัท พาโลอัลโต้ เน็ตเวิร์ค ประเทศไทย และอินโดจีน
-บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิกส์ จำกัด
-และ สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล
โดยแต่ละรายจะสนับสนุนการทดลองใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบการใช้งานจริงในโรงงานนำร่อง ร่วมแบ่งปันองค์ความรู้เพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนากำลังคนและบุคลากรด้านอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นระบบ

จากความร่วมมือของพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งช่วยสถานประกอบการ โรงงาน บริษัท รวมถึง SME สามารถยกระดับความสามารถสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตลอดจนให้ประเทศไทยมี Big Data ข้อมูลสถานภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยในระดับมหภาคที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจและกำหนดนโยบายระดับชาติได้อีกด้วย ส่งผลให้นโยบาย Thailand 4.0 เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และประเทศไทยเติบโตได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

ร่วมโครงการแพลตฟอร์ม IDA
ดร. รวีภัทร์ ผุดผ่อง
ฝ่ายความร่วมมืออุตสาหกรรมใหม่
เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) สวทช.
โทร. 08 1720 1980, 0 2117 8304, 0 2117 8311, 0 2117 8314
E-mail: ravipat.phu@nstda.or.th
ดร. พรพรหม อธีตนันท์
ฝ่ายกลยุทธ์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.)
โทร. 08 6600 0723, 02 564 6900 ต่อ 2347, 2358, 2383
E-mail: business@nectec.or.th

บทความที่เกี่ยวข้อง
เนคเทค สวทช. จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อน และ System Integrators โครงการแพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม (IDA Platform)
เนคเทค สวทช. จัดการประชุม “โรงงานนำร่อง” โครงการแพลตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม
ประกาศผล โรงงานที่ได้รับการคัดเลือก ร่วมโครงการ IDA พลังงาน
Smart Factory IoT Challenge 2020 ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ตอบโจทย์ Industry 4.0
ห้ามพลาด ! Your Digital Life Podcast EP.4 | IDA Platform กับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในวิกฤต COVID-19

• ชื่อเจ้าของข้อมูล : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
• สาขา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

• ประเภทบริการ :
หน่วยงานภาครัฐทั่วไปในพื้นที่
• หมวดหมู่นวัตกรรม :
ดิจิทัล


ผู้เยี่ยมชม: 77
บริการด้านนวัตกรรมที่น่าสนใจ

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf

แพทย์หญิง มุฑิตา อุเบกข

าแพทย์อายุรก

csdfdsfsdfsdfdsfsdfsdfsdfsdf